การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์
ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน : ธเนศพล ติ๊บศูนย์
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย และ 4. เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 1. การวิจัยระยะที่ 1 ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 1) ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 โรงเรียน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน 3) ครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน 2. การวิจัยระยะที่ 2 ประกอบด้วย 2 กลุ่ม 1) ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบและตรวจสอบรูปแบบที่มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ท่าน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และครูผู้สอน จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 3. การวิจัยระยะที่ 3 ประกอบด้วย 2 กลุ่ม 1) ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 298 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 608 ; อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธุ์, 2558 : 120) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 166 คน 4. การวิจัยระยะที่ 4 ประกอบด้วย 2 กลุ่ม 1) ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 คน 2) ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย พบว่า สภาพปัญหา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 3.58, S.D. = 0.99) และความต้องการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.44, S.D. = 0.80)
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย มีชื่อว่า “L-OKRsM : Learner-Objective and Key Results Model” ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน 4) การประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุน และ 6) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ และผลการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า 1) ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.51, S.D. = 0.50) 2) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.48, S.D. = 0.57) และ 3) การใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.50, S.D. = 0.54)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย พบว่า 1) การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พบว่า ผ่าน โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.80 (x-bar= 16.88, S.D. = 1.80) คิดเป็นร้อยละ 84.38 2) การประเมินการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พบว่า มีการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการเรียนรู้ในระดับดี (x-bar= 4.49, S.D. = 0.54) 3) การประเมินการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พบว่า มีการจัดการเรียนรู้ในระดับดี (x-bar= 4.49, S.D. = 0.53) 4) การประเมินหลังการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พบว่า มีการเตรียมความพร้อมหลังการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก (x-bar= 4.51, S.D. = 0.53) และ 4) การประเมินผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า นักเรียนมีการปฏิบัติ/แสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง (x-bar = 2.33, S.D. = 0.63)
4. ผลการประเมินการปรับปรุง แก้ไข องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย พบว่า 1) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.55, S.D. = 0.50) 2) ความเหมาะสม มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.51, S.D. = 0.50) 3) การนำไปใช้ได้จริง มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.53, S.D. = 0.51)