LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง     :     การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพ
สู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์
(Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน    :     ธเนศพล ติ๊บศูนย์
ปีการศึกษา    :     2565

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ของโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน 3) ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน 4) ครูผู้สอน จำนวน 19 คน 5) นักเรียนในโครงการ จำนวน 65 คน และ 6) ผู้ปกครองของนักเรียนที่อยู่ในโครงการ จำนวน 65 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียน ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ (Science School) โรงเรียนเทศบาล ๔ สันป่าก่อ จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) และการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ตามลำดับ ผลปรากฏดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) โดยภาพรวมมีความต้องการจำเป็น/ความเหมาะสม/ความคาดหวังในระดับมาก (x-bar= 4.38, S.D.= 0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ความเหมาะสม (Propriety) ของโครงการ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด (x-bar= 4.51, S.D.= 0.52) รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็น (Need) ของโครงการ (x-bar= 4.42, S.D.= 0.54) และความคาดหวัง (Expectation) ของโครงการ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.28, S.D.= 0.63) ตามลำดับ และได้ผลสรุปในการสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนเป็นข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจ วางแผนจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมถึงวิธีดำเนินการตามโครงการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้/ความเหมาะสม/ความเพียงพอในระดับมาก (x-bar= 4.25, S.D.= 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด (x-bar= 4.39, S.D.= 0.58) รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงานของโครงการ (x-bar= 4.27, S.D.= 0.52) ด้านงบประมาณ (x-bar= 4.22, S.D.= 0.50) และด้านบุคลากร มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.06, S.D. = 0.43) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (x-bar= 4.23, S.D.= 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การวางแผน (Plan) มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด (x-bar= 4.30, S.D.= 0.61) รองลงมา คือ การดำเนินการ (Do) (x-bar= 4.22, S.D.= 0.64) การตรวจสอบ (Check) (x-bar= 4.21, S.D.= 0.62) และการปรับปรุง แก้ไข (Act) มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยน้อยที่สุด (x-bar= 4.18, S.D.= 0.57) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.31, S.D.= 0.64) เมื่อพิจารณาตามประเด็น พบว่า
4.1 ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ จากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูผู้สอน โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ จากความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนมีการปฏิบัติ/ความสามารถในระดับมาก และมีความพึงพอใจในระดับมาก
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต จากความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรม/ความสามารถในระดับมาก และมีความพึงพอใจในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^