การพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก (Active Lea
สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ APPLCCCAE
ชื่อผู้วิจัย : นางปาริชาติ ปิติพัฒน์
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศแบบ APPLCCCAE ที่ส่งเสริมสมรรถนะ
การจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุกของครูปฐมวัย พัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก ด้วย
กระบวนการนิเทศแบบ APPLCCCAE และศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
เชิงรุก ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ APPLCCCAE กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Selected) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู
เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์สภาพและ
ข้อมูลพื้นฐานการนิเทศการสอนที่ส่งเสริมครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากระบวนการนิเทศที่ส่งเสริมครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์
เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ APPLCCCAE ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการ
พัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการนิเทศ
แบบ APPLCCCAE เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม
ได้แก่ แนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก ชุดกิจกรรมเสริมความรู้
และชุดนิเทศ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบ
สังเกตการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์
ได้แก่ ค่าดัชนี PNI ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการดำเนินการการวิจัย พบว่า
1. กระบวนการนิเทศที่ส่งเสริมครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) สำหรับเด็กปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้น คือ “กระบวนการนิเทศแบบ APPLCCCAE” ประกอบด้วย
6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็น (Assessing : A) ขั้นที่ 2 เตรียมความรู้
ก่อนการนิเทศ (Preparing: P) ขั้นที่ 3 วางแผนและออกแบบการนิเทศ (Planning: P) ขั้นที่ 4 เรียนรู้
เพื่อพัฒนา (Learn to develop : L) โดยแบ่งวิธีการนิเทศครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้