รายงานการประเมินโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เสริมสร้างคุณธรรม
โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรีธีระพงษ์ ผิวศิริ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง
สังกัด กองการศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการนำรูปแบบชิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมินโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและด้านความพึงพอใจ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง เกี่ยวกับโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 147 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 493 คน ผู้ปกครอง จำนวน 493 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ คือ t-test วิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเซฟเฟ (Scheffe)
ผลวิจัยพบว่า
1. ผลการการนำรูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมินโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรม โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง ตามความเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.78)
2. ผลการการนำรูปแบบการประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและด้านความพึงพอใจ ดังนี้
2.1 ด้านบริบท (Context) โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์ที่กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร 8 ประการของนักเรียนมีความเหมาะสม ( X-bar = 4.92) รองลงมา คือ การกำหนดกิจกรรมสร้างคุณลักษณะ อันพึงประสงค์สร้างความสนใจให้กับนักเรียน ( X-bar = 4.87) ตามลำดับ
2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ( X-bar = 4.87) รองลงมา คือ ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนให้ความร่วมมือสนใจและสนับสนุนในการดำเนินงาน ( X-bar = 4.86) ตามลำดับ
2.3 ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการนำผลการประเมินกิจกรรมไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน ( X-bar = 4.86) รองลงมา คือ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแลและให้กำลังใจในการทำงาน ( X-bar = 4.85) ตามลำดับ
2.4 ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้และมีทักษะในการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ( X-bar = 4.82) รองลงมา คือกิจกรรมค่ายพุทธบุตร พุทธธรรม ทำให้นักเรียนเกิดคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และคุณธรรมอื่นๆ ( X-bar = 4.81) ตามลำดับ
2.5 ด้านความพึงพอใจ (Complacency) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.79)
3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวมและรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสูงกว่าผู้ปกครอง ครูผู้สอนและนักเรียน ตามลำดับ
คําสําคัญ : การประเมินแบบชิปป์ (CIPP Model) / กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน / คุณธรรมและจริยธรรม