LASTEST NEWS

03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ค. 2567ด่วน! สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 182 อัตรา - รายงานตัว 5 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 15 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวัดสมุทรธาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 6,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2 - 8 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 9 อัตรา - รายงานตัว 8 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567สพม.ตาก เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 10 ก.ค.2567 02 ก.ค. 2567โรงเรียนวาปีปทุม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกศิลปะ เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 3-7 กรกฎาคม 2567 02 ก.ค. 2567สพฐ.เปิดแนวทางการหักเงิน 7 ขั้น แก้ปัญหาหนี้ครูและบุคลากร 02 ก.ค. 2567ข่าวดี!!! สำหรับน้อง ๆ ม.ปลาย ทั่วประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ขยายเวลา รับสมัครเข้าร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท 

การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์
ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย      ธิติมา เรืองสกุล ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
     สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ปีที่วิจัย     2563-2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ การนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ตามลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&D) คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการนิเทศ ขั้นที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศ โดยการสนทนากลุ่ม กับผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายอำเภอสุไหงปาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 โรงเรียน จำนวนครู 58 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนในการดูแลรับผิดชอบด้านการนิเทศของผู้วิจัย ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นที่ 4 การประเมินรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน แบบทดสอบ และแบบประเมินผลการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t - test (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า โดยรวม มีสภาพการดำเนินงานในระดับปานกลาง ( = 3.37, S.D. =0.50) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิธีการนิเทศ มีระดับการดำเนินงานค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสื่อ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในการนิเทศ และด้านกิจกรรมการนิเทศ (เนื้อหา/ประเด็นที่ต้องการให้นิเทศ) ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาการนิเทศครู คือ ผู้นิเทศมีการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีการประชุมเพื่อทบทวน ปรับปรุงและพัฒนาการนิเทศเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ มีวิธีการนิเทศโดยใช้สื่อและเครื่องมือในการนเทศที่มีความหลากหลาย การนำระบบอินเทอร์เน็ต การใช้แอพลิเคชันต่าง ๆ เข้ามาช่วย ผู้นิเทศมีการชี้แนะแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศใช้หลักการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการนิเทศอย่างต่อเนื่อง
    2. ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า 2.1 รูปแบบการนิเทศ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ 5) การวัดผลและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ 2.2 ผลการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D.= 0.52) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.50)
    3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า
    3.1 ผลการสอบถามระดับการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศของรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. =0.52)
    3.2 ผลการประเมินสมรรถนะครู พบว่า ครูมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูมีความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning และด้านการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานองเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. =0.50)
    4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า
    4.1 ผลการประเมินมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า รูปแบบการนิเทศ มีผลการประเมินด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. =0.54)
    4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฐมวัยต่อรูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ครูปฐมวัย ( = 4.54, S.D. =0.50) รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ( = 4.52, S.D. =0.51)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^