วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (BES Practices)
ความสำคัญของผลงาน นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่นำเสนอ
การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐาน
การ อบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็ก
แต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 ได้กล่าวถึง การจัดการศึกษา
ของเด็ก อายุ 3-6 ปี เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการผ่านการเล่น การลงมือกระทำ
จากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมรวมทั้งเกิดการพัฒนา
ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่จัดเป็นรายวิชา โดยมีหลักการจัดประสบการณ์
แนวทางการจัดประสบการณ์ และการจัดกิจกรรมประจำวัน เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ต้องการค้นพบ ต้องการเรียนรู้สิ่งที่แปลกๆใหม่ๆ อยู่เสมอ ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาได้สูงสุดในช่วงปฐมวัย หากเด็ก
พลาดโอกาสที่จะเรียนรู้และคิดอย่างสร้างสรรค์ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาความคิดในวัยผู้ใหญ่
ทักษะ EF หรือ Executive Functions ทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการ
ทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะ
ที่ทุกคนต้องใช้และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คืออายุ 4 – 6 ขวบ เพราะสมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด การคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น และปรับตัว
เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข อยู่กับคนอื่นเป็น มีความสุขเป็น คือการฝึกทักษะสมองสำคัญที่เรียกว่า Executive Functions หรือ EF ซึ่งช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาทางด้านสมาธิ หากไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องอาจทำให้มีปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเรียน และการเข้าสังคมในอนาคต การฝึกทักษะสมองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองไม่ควรละเลย (พญ.มัณฑนา ชลานันต์: กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ : www.bangkokhospital.com)
โดย EF = Executive Functions การทำงานของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับทักษะการคิดเพื่อให้ชีวิตสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ ประกอบไปด้วย 1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention) 5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 7. ริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) 9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
ซึ่งจากการสำรวจสภาพปัญหานักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำงาว พบว่ามีนักเรียนหลายคนที่ยังขาดความใส่ใจอยู่กับสิ่งที่ทำ ขาดการวางแผนและคิดอย่างเป็นระบบ บางครั้งนักเรียน
ขาดการยั้งคิด ขาดการมีระเบียบวินัย เช่น ไม่ช่วยกันเก็บของเข้าที่ ไม่มีระเบียบวินัยการเข้าแถว จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อจะดำเนินการให้นักเรียนได้เกิดทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน ที่กล่าวไปข้างต้น โดยครูผู้สอนได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับ EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ EF (Executive Functions) ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงข้อมูลในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process)
ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูล
อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
จนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้และมีความสำคัญยิ่ง ต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ ทั้งนี้
มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
จากสภาพปัญหาข้างต้นที่นักเรียนขาดทักษะกระบวนการคิด จึงมีแนวทางในการดำเนินกิจกรรม
ที่จะทำให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำงาวทุกคนได้เกิดทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน โดยชื่อกิจกรรมว่า “สร้างพื้นฐานลูกให้เก่งและดี ด้วยการใช้ทักษะ EF” โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาให้เด็กปฐมวัยเป็นผู้มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นแบบบูรณาการเข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีการสอดแทรกเรื่องของ EF จากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น พบว่านักเรียนมีทักษะ EF บางด้านไม่เหมาะสมกับวัย คือ ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง ทักษะการยืดหยุ่นความคิด ทักษะการใส่ใจ
จดจ่อ การควบคุมอารมณ์ การประเมินตัวเอง การริเริ่มและลงมือทำ การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการการมุ่งเป้าหมาย ข้าพเจ้าจึงคิดที่จะพัฒนาทักษะทางสมอง โดยการจัดกิจกรรมพัฒนา “สร้างพื้นฐานลูกให้เก่งและดี ด้วยการใช้ทักษะ EF” เพื่อส่งเสริมทักษะสมองและจัดการชีวิตให้สำเร็จ (EF – Executive Functions) ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำงาวสามารถสร้างองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วนำไปต่อยอดกับองค์ความรู้ใหม่และนำไปใช้ได้อย่างมีความหมาย ด้วยการใช้ทักษะสมอง EF ผ่านการจัดกิจกรรม “สร้างพื้นฐานลูกให้เก่งและดี ด้วยการใช้ทักษะ EF”
2. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำงาวได้มีการคิดอย่างอิสระ ได้มีความกล้าแสดงออก ได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการลงมือทำกิจกรรม โดยไม่ต้องคำนึงความถูกผิดของการทำกิจกรรม
เพื่อสร้างเชื่อมั่นในความคิดของนักเรียนและให้โอกาสที่จะเรียนรู้ตามความคิดและวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำงาวได้รับการพัฒนาทักษะสมอง ให้คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น
4. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำงาวมีทักษะการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและใช้ชีวิตทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
(รูปเล่ม)
https://drive.google.com/file/d/1jBaYvq10-IoAfVIbb2bZZyMzU_Zj3MNl/view?usp=sharing