การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY
ชื่องานวิจัย การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ชื่อผู้วิจัย นางกฤติยา โพธิ์เสนา
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ปี พ.ศ. 2565 – 2566
คำสำคัญ โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ., กระบวนการ SOCIETY MORAL
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการ จำเป็นในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) ศึกษาการใช้และประสิทธิผลของกระบวนการ SOCIETY MORAL ที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 3) ศึกษาผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการขับเคลื่อน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษสมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย (1) ระดมความคิดเห็นโดยใช้วิธีการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน (2) สัมภาษณ์ผู้แทนผู้บริหาสถานศึกษา ครู จำนวน 10 คน (3) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการส่งเสริมคุธรรม จริยธรรม ในระดับสถานศึกษา/ระดับเขตพื้นที่ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการใช้และประสิทธิผลของกระบวนการ SOCIETY MORAL ที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย (1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 แห่ง จำนวน 30 คน (2) โรงเรียนในสังกัด จำนวน 71 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสรุป กระบวนการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนในสังกัด จำนวน 71 โรงเรียน ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารสถานศึกษา (2) ครู ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. รวมทั้งสิ้น 142 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัด แบบรายงานความสำเร็จต่อเป้าหมายความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. แบบประเมินความสอดคล้องและแบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ระดับสถานศึกษา
โรงเรียนมีแผนพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. แต่มิได้ดำเนินการปรับแผนให้เป็นปัจจุบันตรงกับสภาพปัญหาปัจจุบันที่ต้องการแก้ไข เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบโครงการ ทำให้นโยบายการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งโรงเรียนยังไม่มีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมพัฒนาทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้น โรงเรียนควรมีการประชุมจัดให้มีแผนงานการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการแบบมีส่วนร่วม ร่วมกันทั้งโรงเรียน เพิ่มเติมหลักธรรม และแนวทางในการปฏิบัติตามคุณอัตลักษณ์ของโรงเรียน และปฏิบัติร่วมกันทั้งโรงเรียนทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน รวมถึงการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่าง วัด ชุมชนในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.เป็นการผลักดันกระบวนการร่วมกันดำเนินการหาทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมความประพฤติปฏิบัติที่ดีของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีส่วนช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมเชิงลบลดลง พฤติกรรมเชิงบวกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรงเรียนมีความต้องการเครือข่ายทั้งในพื้นที่ และต่างพื้นที่ในการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นำไปพัฒนาผลการดำเนินงานของโรงเรียน มีความต้องการที่เข้ารับการอบรมพัฒนาเพื่อนำไปวางแผนจัดทำกระบวนการบริหารงาน สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณธรรมที่เป็นระบบ และนำมาสื่อสารชี้แจง แนวปฏิบัติให้กับครูในโรงเรียนในการปฏิบัติได้ชัดเจน อีกทั้งต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเวทีส่งเสริมสนับสนุนยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ผู้ประพฤติดีเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติต่อไป
1.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ขาดบุคลากรในการลงพื้นที่นิเทศติดตาม เนื่องจากศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีจำนวนน้อย และมีภาระงานจำนวนมากกว่าอัตรา ส่งผลให้การลงพื้นที่นิเทศ ติดตามในลักษณะเชิงประจักษ์ในแต่ละโรงเรียนมีข้อจำกัด ดังนั้น ควรมีแนวทางนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกันทั้งระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กับโรงเรียนในสังกัด มีเอกสารแนวทางในการให้ความรู้กับครูผู้รับผิดชอบที่ขาดประสบการณ์ และจัดกิจกรรมทบทวนความรู้แนวปฏิบัติแก่ครูผู้รับผิดชอบเดิมให้มีความชัดเจนมากขึ้น มีการสร้างเครือข่าย และข้อตกลงในการขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกัน มีการนิเทศ ติดตามร่วมกันกับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ต้องมีแนวทางนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการสำรวจข้อมูลครูที่รับผิดชอบโครงการ และความต้องการของครูผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมให้ความรู้ ทบทวนการดำเนินการโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการให้ความรู้กับครูผู้รับผิดชอบที่ขาดประสบการณ์ และทบทวนความรู้แนวปฏิบัติแก่ครูผู้รับผิดชอบให้มีความชัดเจนมากขึ้นในการวางแผนพัฒนาขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ในระดับสถานศึกษา และในระดับเขตพื้นที่ มีการสร้างข้อตกลง และจัดตั้งเครือข่ายระหว่างโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนมีเครือข่ายในการดำเนินการ และมีเพื่อนร่วมพัฒนาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเครือข่ายในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ร่วมกันเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับพัฒนาการดำเนินงานต่อไป มีการนิเทศ ติดตามร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนมีประสิทธิภาพให้ประสบความสำเร็จ
2. การใช้และประสิทธิผลของกระบวนการ SOCIETY MORAL ที่ใช้ในการขับเคลื่อน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
2.1 ผลการจัดทำคู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยใช้แนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนคุณธรรมการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กรอบแนวคิดโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ยุทธศาสตร์การดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม ด้วยรหัส 3-5-7
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพคู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคู่มือด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ในภาพรวมอยู่ระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเอกสารคู่มือ และด้านประโยชน์ของคู่มือ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านเนื้อหาของคู่มือ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ
2.3 ผลการทดลองใช้ (Try out) คู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ซึ่งนำไปทดลองใช้ (try out) กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 3 แห่ง เพื่อนำมาตรวจสอบด้านความเชื่อมั่น (reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของ Cronbach ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของ คู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.94
2.4 ผลการนํากระบวน SOCIETY MORAL มาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัด ปีการศึกษา 2565-2566 ดังนี้ 1) โรงเรียนได้รับการพัฒนาส่งเสริมงานคุณธรรมในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการพัฒนาส่งเสริมงานคุณธรรมในโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูบุคลากรและนักเรียน 3) ครูมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจ สามารถจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมงานคุณธรรมในโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน 4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ได้ข้อมูลจากการศึก ษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็น ซึ่งเป็นข้อมูลในการวางแผนในการขับเคลื่อนโครงการโรง เรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในการดำเนินการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
3. ผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
3.1 ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของโรงเรียนในสังกัด จำนวน 71 โรงเรียน อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ทั้ง 4 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 4 ด้านนักเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา องค์ประกอบที่ 3 ด้านครู องค์ประกอบที่ 1 ด้านโรงเรียน ตามลำดับ และองค์ประกอบที่ 2 ด้านผู้บริหาร มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 4.2 โครงงานคุณธรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ข้อ 4.6 พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และข้อ 3.3 ความสามารถในการเป็นวิทยากรคุณธรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
3.2 ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้านโรงเรียนด้านผู้บริหาร ด้านครู
ด้านนักเรียน และด้านชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2565-2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
มีโรงเรียนในสังกัดผ่านการประเมินโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว (จำนวน 2 โรงเรียน) และโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว (จำนวน 71 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100) และมีครูและบุคลากรทางการศึกษา มีผลงาน/รางวัล
คุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ระดับประเทศ รวมทั้งผลงานที่เกิดขึ้นนักเรียนในสังกัด
และชุมชน
3.3 ผลประเมินความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้ กระบวนการ SOCIETY MORAL ของโรงเรียนในสังกัด
1) ผลการประเมินความสอดคล้องของแบบสอบถามความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) เท่ากับ 1.00
2) ผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach’s reliability coefficient alpha) เท่ากับ 0.84
3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. มีความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นกระบวนการ พบว่า I (Informing) นำพาการยกระดับ มีความพึงพอใจ สูงสุด รองลงมา E (Encourage) พร้อมรับดำเนินงาน T (Teaching & Mentoring) สอนงานเป็นพี่เลี้ยง
Y (Yardstick) พร้อมเพรียงประเมิน 3 ดาว M (Move) ให้ก้าวผ่านระดับเขตตรวจราชการ O (Occasion) ประสานต่อยอดคุณธรรม 4 ดาว C (Coordinating) ร่วมสร้างพัฒนา O (Objective) กำหนดแนวทาง S (Study) ศึกษาบริบท A (Action) ติดตามพาสะท้อนผล R (Review) โน้มน้าวพัฒนา ตามลำดับ และน้อยที่สุด L (Legitimate) มากล้นแนวปฏิบัติที่ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการอบรมชี้แจง ให้ความรู้ ด้านแผนพัฒนาคุณธรรม และด้านโครงงานคุณธรรมชัดเจนอย่างเป็นระบบ ทั่วถึงทุกโรงเรียน มีความพึงพอใจสูงสุด รองลงมา ข้อที่ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการอบรม/ประชุมชี้แจง ให้ความรู้ ลำดับขั้นตอน มีปฏิทินการปฏิบัติงาน วิธีการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม ชัดเจน และน้อยที่สุด ข้อที่ 24 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการเผยแพร่ผลงานที่เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม และนำเสนอผลงาน ที่สามารถเป็นแบบอย่างได้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ