LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงาน นางวัฒนาพร รังคะราช

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย     นางวัฒนาพร รังคะราช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

ปีการศึกษา    2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 33 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความคล้าย เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสถิติค่าที แบบ Dependent Samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
     1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ตลอดจนศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนส่วนใหญ่เน้นการคิดคำนวณ จำสูตร และทำตามตัวอย่างได้ในบทเรียน มีกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนไม่เป็นระบบเท่าที่ควร นักเรียนขาดความสามารถในการแก้ปัญหา ขาดกระบวนการแสวงหาความรู้ ขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดแก้ปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด จากข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สอดคล้องกับความต้องการ และจุดมุ่งหมายแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เน้นพัฒนาความรู้และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน สำหรับหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ล้วนแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี
2. การออกแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น “EPCEP Model” มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ 1) ขั้นกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement: E) 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหา (Problem solving : P) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) 4) ขั้นอธิบายสรุปและฝึกทักษะ (Explanation and Practice: E) 5) ขั้นนำเสนอผลงานและประเมินผล (Presentation and Evaluation : P) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ “EPCEP Model” มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.57/81.31 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 ที่ได้กำหนดไว้
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, = 0.03) และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการประเมิน และปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงแก้ไขหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพิ่มเติมรายละเอียดของกระบวนการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มเติมรายละเอียดของสิ่งสนับสนุน คือ การยืดหยุ่นเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับกิจกรรม และหลักการตอบสนอง คือ ดูแลให้นักเรียนทุกคนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งในกลุ่มย่อย และทั้งชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ













ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^