การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ STAD
แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นายพงศธร สวัสดิ์วงษ์
ปีที่ทำการวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียม (Preparation and Grouping: P1) 2) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem definition: P2) 3) ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Proceed with research: P3) 4) ขั้นนำเสนอ (Presentation: P4) 5) ขั้นทดสอบ (Personal testing: P5) และ 6) ขั้นให้รางวัลกลุ่ม (Prize giving: P6)
2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.13/83.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของนักเรียน หลังใช้รูปแบบการสอนมีคะแนนสูง กว่าก่อนใช้รูปแบบการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด