การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย
โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน : วีระเชษฐ์ วรรณรส
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทยโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 18 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 128 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.35, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.64) เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) การประเมินบริบท (Context Evaluation : C) การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation : I) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) ส่วนการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.46, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.61) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.52, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.56) และมีความเพียงพออยู่ในระดับมาก (เค่าเฉลี่ย= 4.49,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.50,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.02, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.98)
5. ผลการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.16, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.91)
6. ผลการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.54,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
7. ผลการประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.05,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.58) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
8. ผลการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.60,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ