การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่าน
ร่วมกับการใช้บทเรียนสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัย : นางอมรรัตน์ อุดมวงษ์ ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการใช้บทเรียนสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการใช้บทเรียน สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู 3 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน เป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูง จำนวน 10 คน และเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ 10 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี 93 คน ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสรุปอุปนัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือการวิจัย และดำเนินการตรวจสอบรูปแบบและเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่สร้างขึ้นชั้นต้น และยืนยันผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 30 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 30 คน โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน
จากผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียนในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ พบว่า นักเรียนมีปัญหาทุกด้านเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ อาทิ การไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ ไม่เข้าใจประโยคที่ยาวๆ และซับซ้อน ขาดความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านไม่สามารถสรุปใจความหลักและรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้ ในด้านครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้วิธีสอนแบบเดิม ขาดเทคนิคในการสอน ไม่เร้าความสนใจในการอ่าน จึงไม่กระตุ้นการเรียนรู้ในการพัฒนาการอ่าน รวมทั้งการเป็นเรื่องยากในการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการใช้บทเรียนสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้น (1) การสร้างแรงจูงใจ (2) การกระตุ้นความรู้เดิม (3) การเรียนรู้ร่วมกัน(4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.40 (x ̅ = 4.40, S.D. =0.51)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการใช้บทเรียนสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนของการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียน (x ̅ = 32.06, S.D. =1.50) ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการใช้บทเรียนสื่อประสมสำหรับสูงกว่าก่อนเรียน ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการสังเกตเหตุการณ์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมีบุคลิกภาพที่ดี จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ชัดเจน ถูกต้อง มีเจตคติที่ดีต่อการสอน นักเรียนตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำงาน และทำงานได้สำเร็จ ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้ นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมากขึ้น และพัฒนาการอ่านในระดับสูงต่อไป
4. ผลการยืนยันผลการใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้ยุทธศาสตร์การเสริมต่อการเรียนรู้ประสบการณ์การอ่านร่วมกับการใช้บทเรียน สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1ในการทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียน (x ̅ = 34.27, S.D. =2.55) สูงกว่าก่อนเรียน คะแนนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ในการทดสอบ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียน (x ̅ = 34.07, S.D. =2.39) สูงกว่าก่อนเรียน ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลจากการสังเกตเหตุการณ์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมีบุคลิกภาพที่ดี จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ชัดเจน ถูกต้อง มีเจตคติที่ดีต่อการสอน นักเรียนตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำงาน และทำงานได้สำเร็จ ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้ นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมากขึ้น และพัฒนาการอ่านในระดับสูงต่อไป
Title : The Development of an Instructional Model for English reading comprehension
Through Scaffolding Reading Experiences Strategies with Multimedia lessons
for Mathayomsuksa 3 students
Author : Mrs. Amornrat Udomwong.
Year of Study : Academic Year 2022
ABSTRACT.
This research aimed to develop an instructional model for English reading comprehension Through Scaffolding Reading Experiences Strategies with Multimedia lessons for Mathayomsuksa Three students. The specific objectives of this study were 1) to identify the general context and existing problem for an instructional model. The data were collected though semi-structure interview. The participants consisted of 3 English teachers 20 students from 10 students for high and 10 students low English achievement and 93 students of Mathayomsuksa 3 students in Nernyangprachasamakkee school with a review and answer a questionnaire of the relevant literature. The data were statistically analyzed by control analysis and analytic induction method; 2) to design an instructional model and assessment tools in the model and verified it by 5 experts; 3) to try out and certify the designed an instructional model. The participants consisted of 33 students in of Mathayomsuksa 3/3 in the second semester of academic year of 2017 in Nernyangprachasamakee school. The data were statistically analyzed were mean, percentage, standard deviation.
The research results were as;
1. The results of current study and the problems on learning management in English for Mathayomsuksa 3 students found that students have all the problem of reading English for understanding consist of not understanding the meaning of words, long reading and complex sentences. Lack of reading knowledge and can’t to summarize the main idea of reading. Most teachers use traditional teaching method, no technique, no encourage learning and difficult learning to read .
2. The result of design an instructional model for Mathayomsuksa 3 students composed of 1) Principal, ideas and basic theories, 2) The objectives of model, 3) Content 4) Learning managment 5) Evaluation. For an instructional learning together constructed with 4 steps, were including; 1) Motivation Learning 2) Activation Learning 3) Learning together and 4) Evaluation Learning. The learning management an instructional model for enhancing creativity, that had the quality and appropriate at a high level, with average of 4.40 (x ̅ = 4.40, S.D. =0.51)
3. The implement of an instructional model for Mathayomsuksa 3 students were found that 1) The test of reading comprehension posttest higher than pretest with (x ̅ = 32.06, S.D. =1.50). 2) The results of teaching behavior and students learning behavior are highest level. 3) The results of observation in during learning management that teacher is good personality, accurately learning process, good attitude. Students intend to study, participant in work and work was completed. 4. Students learning reflections are higher reading comprehension ability and develop reading to high level.
4. Initial and recurrent experimental results were found that the test of Mathayomsuksa 3/1 students reading comprehension posttest higher than pretest with (x ̅ = 34.27, S.D. =2.55) and The test of Mathayomsuksa 3/2 students reading comprehension posttest higher than pretest with (x ̅ = 34.07, S.D. =2.39). 2) The results of teaching behavior and students learning behavior are highest level. 3) The results of observation in during learning management that teacher is good personality, accurately learning process, good attitude. Students intend to study, participant in work and work was completed. 4. Students learning reflections are higher reading comprehension ability and develop reading to high level.