การประเมินโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน ของโรงเรียนวันครู(2504)
การประเมินโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน ของโรงเรียนวันครู(2504)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) 3) เพื่อ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน (Product Evaluation) ผู้ประเมินยึดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 104 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนวันครู(2504) จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน ( ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 45 คน และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 45 คน ใช้วิธีเลือกโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) โดยการใช้ลำดับเลขคี่ ยกเว้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและผลการประเมินทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เก็บข้อมูลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกคน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามผู้บริหารและครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามประเด็นบริบทของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามประเด็นกระบวนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามและแบบเก็บข้อมูลประเด็นผลผลิตของโครงการ จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง (Construct Validity) และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ( - Coefficient) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Window
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน ของโรงเรียนวันครู(2504) อยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ได้คะแนน 10.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่าผ่านทุกตัวชี้วัดของประเด็นด้านบริบทของโครงการ และเรียงตามลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยตามตัวชี้วัดในการประเมิน ได้ดังนี้ ความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ ( = 4.68) ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม ( = 4.60) และ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ( = 4.52)
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน ของโรงเรียนวันครู(2504) อยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ได้คะแนน 18.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ผ่านทุกตัวชี้วัดของประเด็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ และเรียงตามลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยตามตัวชี้วัดในการประเมินได้ดังนี้ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ( = 4.80) ความพร้อมของงบประมาณ ( = 4.55) ความเหมาะสมของสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ( = 4.54) และความพร้อมของบุคลากร ( = 4.48)
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน ของโรงเรียนวันครู (2504) อยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ได้คะแนน 20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ผ่านทุกตัวชี้วัดของประเด็นด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และเรียงตามลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยตามตัวชี้วัด ในการประเมินได้ดังนี้ การวางแผน ( = 4.70) การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ( = 4.40) การดำเนินงาน ( = 4.36) และ การปรับปรุงพัฒนา ( = 4.32)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการวางทุกงานอ่านทุกวันของโรงเรียนวันครู(2504)อยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ได้คะแนน 44.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่าผ่านทุกตัวชี้วัดของประเด็นด้านผลผลิตของโครงการ และเรียงตามลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อยตามตัวชี้วัดในการประเมินได้ดังนี้ ผลการประเมินทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน (100%) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ ( = 4.53) คุณลักษณะนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ( = 4.30) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (71.71%)
5. ผลการประเมินโครงการวางทุกงานอ่านทุกวัน ของโรงเรียนวันครู (2504) มีความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวม 92.00 ผลการวัด เท่ากับ 89.68% จาก 100 คะแนน เมื่อพิจารณาประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่าทุกประเด็นและตัวชี้วัดของการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้และเรียงตามลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย ตามประเด็นการประเมินได้ดังนี้ ด้านบริบทของโครงการ (92.00 %) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (91.15%) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (88.90%) และด้านผลผลิตของโครงการ (86.67%)