การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวท
หัวข้อวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวทางการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวในประเทศอาเซียนที่น่าสนใจเป็นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวเบญจวรรณ บุญคูณ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2565
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่ใช้รูปแบบและกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart มาดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะและการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)ในรูปแบบ 3P4S Model มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อปฏิบัติการพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 36 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ใช้สอนแผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง Attractions in ASEAN เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.38 ถึง 0.62 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (T - test Dependent Sample)
สรุปผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model มีองค์ประกอบ 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการวางแผนหรือเตรียมการสอน (Plan or Prepare) 2) ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) 3)ขั้นตอนการค้นคำศัพท์ (Search) 4) ขั้นตอนการอ่านเนื้อหาแบบคร่าวๆเพื่อหาประเด็นและใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง (Skimming) 5) ขั้นตอนการอ่านแบบคร่าวๆ เพื่อหาข้อมูล หรือคำตอบเฉพาะเจาะจง (Scanning) 6) ขั้นตอนการฝึกฝนการอ่าน (Practice) 7) ขั้นตอนการสรุปเนื้อหาที่อ่าน (Summary) ซึ่งอยู่ในวงจรการควบคุมการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ 1)การวางแผน (Plan) 2) การปฏิบัติ (Action) 3)การสังเกต (Observe) 4) การสะท้อนกลับ (Reflect) มีทั้งหมด 3 วงจรในการวิจัยครั้งนี้ ผลการหาประสิทธิภาพจากแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้พัฒนาขึ้นจากการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/80.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ผลการปฏิบัติการพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model มีทั้งหมด 10 แผน ได้ผลการปฏิบัติการ มีลักษณะเป็นบันไดเวียน 3 วงจร ประกอบด้วย วงจรที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง Tourist Attractions in Laos, Tourist Attractions in Cambodia และ Tourist Attractions in Myanmar วงจรที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง Tourist Attractions in Malaysia, Tourist Attractions in Vietnam และ Tourist Attractions in Indonesia และวงจรที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง Tourist Attractions in Philippines, Tourist Attractions in Singapore, Tourist Attractions in Brunei Darussalam และ Tourist Attractions in Thailand แต่ละวงจรประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน ยกเว้นวงจรที่ 3 มี 4 แผน รวมทั้งสิ้น 10 แผน ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง แต่และแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model มีองค์ประกอบ 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการวางแผนหรือเตรียมการสอน (Plan or Prepare) 2) ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN และทดสอบก่อนเรียน(Pre-test) 3)ขั้นตอนการค้นคำศัพท์ (Search) ลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ใช้คือ แบบฝึกหัดที่ 1 ปริสนาอักษรไขว้ (Crossword Puzzle) และแบบฝึกหัดที่ 2 จับคู่คำศัพท์ (Vocabulary Matching) 4) ขั้นตอนการอ่านเนื้อหาแบบคร่าวๆเพื่อหาประเด็นและใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง (Skimming) ลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ใช้คือ แบบฝึกหัดที่ 3 จริงหรือเท็จ (True or False) 5) ขั้นตอนการอ่านแบบคร่าวๆ เพื่อหาข้อมูล หรือคำตอบเฉพาะเจาะจง (Scanning) ลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ใช้คือ แบบฝึกหัดที่ 4 ตอบแบบสั้น (Short Answer) และแบบฝึกหัดที่ 5 แผนผังความคิด (Mind Mapping) 6) ขั้นตอนการฝึกฝนการอ่าน (Practice) 7) ขั้นตอนการสรุปเนื้อหาที่อ่าน (Summary) ลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ใช้คือ แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) ซึ่งในแต่ละวงจรประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการและขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล ผลการปฏิบัติการ พบว่า การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model สามารถพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ดีขึ้น นักเรียนทุกคนสามารถทำคะแนนทดสอบหลังเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 (7 คะแนนขึ้นไป)
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model พบว่า คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วย
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง Attractions in ASEAN กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชา อ23102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการจัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ 3P4S Model พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.17)