เผยแพร่ผลงานของนางวัฒนาพร รังคะราช
ผู้วิจัย นางวัฒนาพร รังคะราช ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการพิเศษ
โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสาหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ออกแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3.1) เปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาผลการประเมินและปรับปรุงผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 4.1) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา 4.2) ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research & Development) ขั้นตอนการดาเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) : ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสาหรับการพัฒนารูปแบบการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D and D) : ออกแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R2 ) เป็นการนาไปใช้ (Implementation : I) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation: E) : ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จานวน 35 คน สาหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม จานวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม เป็น
ข
แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา เป็นแบบอัตนัย จานวน 3 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จานวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติค่าที แบบ Dependent Samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สาหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษานโยบายการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่เน้นที่ตัวเนื้อหา เน้นที่การคิดคานวณ และหาคาตอบได้ถูกต้อง จากฎ สูตร และทาตามตัวอย่างในบทเรียน การคิดแก้ปัญหาจึงมีความสาคัญ และจาเป็นอย่างยิ่ง สาหรับการพัฒนาความรู้และทักษะการคิดเพื่อแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการ และจุดมุ่งหมายตามแนวนโยบายการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ สอดคล้องกับเป้าหมายหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่เน้นพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะการคิด และการแก้ปัญหา สาหรับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เทคนิคการระดมสมอง และแนวคิดการแก้ปัญหาของโพลยา ล้วนแต่มีความสาคัญสาหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี
2. ผลการออกแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวยและทรงกลม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน โดยมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน (Introduction: I) 2) ขั้นเผชิญสถานการปัญหาและคิดแก้ปัญหา (Problem and Problem Solving Thinking: P) 3) ขั้นสรุปและแลกเลี่ยนเรียนรู้ (Summary and Sharing : S) และ 4) ขั้นประยุกต์ใช้ (Application: A) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้น “IPSA Model” มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.41/81.67 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 ที่ได้กาหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ค
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅ = 4.51, S.D. = 0.56) และ 2) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ได้รับการประเมิน และปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงแก้ไขหลักการ แนวคิด และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพิ่มเติมรายละเอียดของกระบวนการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มเติมรายละเอียดของสิ่งสนับสนุน คือ ยืดหยุ่นเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และหลักการตอบสนอง คือ ดูแลให้นักเรียนทุกคนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งในกลุ่มย่อย และทั้งชั้นเรียน