การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชื่อผู้วิจัย นางศศธร วัฒนบุตร
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยชน์ของดิน ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยชน์ของดิน ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD ตัวอย่างที่ใช้ทดลองในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองคูม่วง โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องประโยชน์ของดิน 2. แบบทดสอบ เรื่องประโยชน์ของดิน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยชน์ของดิน ของนักเรียนที่ได้จากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 40.7 คิดเป็นร้อยละ 40.71 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 83.9 คิดเป็นร้อยละ 83.92 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีคะแนนการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผ่านเกณฑ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องประโยชน์ของดิน ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ STAD พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 40.7 คิดเป็นร้อยละ 40.71 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 83.9 คิดเป็นร้อยละ 83.92 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีคะแนนการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผ่านเกณฑ์
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80