การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร
ผู้วิจัย นางภาวดี บัวกิ่ง
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัด การเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวนนักเรียน 44 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 2) ชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร ที่ผู้วิจัยได้สร้างและ พัฒนาขึ้น จำนวน 4 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย( Χ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการทดสอบค่าที (t test - )
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ และใช้ หนังสือเรียนเป็นสื่อในการเรียนการสอน ขาดสื่อที่ดึงดูดใจให้นักเรียนตั้งใจเรียน การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนก็จะเป็นแบบรายคน ซึ่งนักเรียนที่เรียนเก่งก็จะทิ้งนักเรียนที่เรียนอ่อน ขาด การช่วยเหลือกัน ดังนั้นนักเรียนและคุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องการให้มีการจัด การเรียนการสอนที่มีการช่วยเหลือกันระหว่างนักเรียนที่เรียนเก่งกับนักเรียนที่เรียนอ่อน โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT และควรมีชุดกิจกรรมที่มีภาพประกอบมีสีสันสวยงามดึงดูด ความสนใจ ควรฝึกจากง่ายไปหายาก และชุดกิจกรรมควรมีกิจกรรมที่หลากหลาย และช่วยกระตุ้นให้ นักเรียนอยากเรียนวิชาคณิตศาสตร์
2. การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.10/84.89 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลการใช้การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( Χ = 4.64) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความพึงพอใจ ในระดับมากถึงมากที่สุด