การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา
เสียวแดงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ชื่อผู้วิจัย นายชัยรัตน์ กำลังหาญ
สถานศึกษา โรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม
ปีวิจัย 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน และ 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครนพม การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสาหรับนักเรียน ตอนที่ 2 การศึกษาแนวการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน และตอนที่ 4 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครนพม จำนวน 44 คน และผู้บริหารในโรงเรียนที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แนวทางการปฏิบัติที่ดี แบบสอบถามการศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น .95 และ .89 ตามลาดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนโรงเรียนดอนเสียวแดงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางในการบริหารพบว่า ด้านวิชาการ มีการพัฒนาหลักสูตร ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ อาชีพในท้องถิ่น และความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ชุมชน หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะอาชีพในโรงเรียน ด้านบริหารบุคคล มีการพัฒนาบุคลากรให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียน ครูได้รับการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับทักษะอาชีพที่หลากหลาย ด้านงบประมาณ มีการวางแผนร่วมกับชุมชนในการใช้ทรัพยากร สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อสำหรับการเรียนสอนอาชีพและการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ด้านการบริหารทั่วไปมีการส่งเสริมให้สถาบันอาชีวศึกษา สถานประกอบการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน พบว่า มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การบริหารงานหลัก 4 งาน คือ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป (2) กระบวนการ การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ใช้วงจรการบริหารคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง (3) ด้านผลผลิต นักเรียนมีทักษะอาชีพ ประกอบด้วย ทักษะในการทางานและมีรายได้ระหว่างเรียน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ เป็นองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน 4) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ การบริหารสถานศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพ