การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดรายวิชา เคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางอุดมศรี อุตส่าห์ โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พันธะโคเวเลนต์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบประเมินรูปแบบหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
1. สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง และกระตุ้นให้เกิดความท้าทายการใช้คำถาม การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมและฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีทักษะแก้ปัญหา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “QPPCRC MODEL” มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดผลและประเมินผล 5) เงื่อนไขและปัจจัยในการนำรูปแบบไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งคำถาม (Questioning: Q) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอปัญหา (Problem Statement: P) ขั้นที่ 3 ขั้นการคิดวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis: P) ขั้นที่ 4 ขั้นเชื่อมโยงความรู้(Connecting: C) ขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนผลและสื่อสาร (Reflecting and Communicating: R) ขั้นที่ 6 ขั้นสรุป (Conclusion: C) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียน ในกลุ่มภาคสนาม จำนวน 32 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.21/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมิน รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
4.1 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด รายวิชาเคมี 1 รหัส ว30221 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.05, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.89)
4.2 ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบัวใหญ่ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.17, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.05)