LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

เผยแพร่ผลงานวิชาการ ม.4

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
                ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN
                MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย                นางสงกรานต์ พรมภาพ
หน่วยงาน            โรงเรียนเมืองสมเด็จ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ทำการวิจัย        ปีการศึกษา 2565

บทคัดย่อ
    
    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของ การวิจัย 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเมืองสมเด็จ ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้
            1.1 ผลการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจุดหมายของการจัดการศึกษาตามนโยบาย จุดหมายการจัดการศึกษาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 แผนการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) สรุปได้ดังนี้
                การจัดการศึกษามุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต ภาษาต่างประเทศจึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างพื้นฐานภาษาต่างประเทศให้ผู้เรียนเกิดทักษะเพื่อที่จะได้นำไปใช้ ในการเรียนในขั้นต่อ ๆ ไป
            1.2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันด้านความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สรุปได้ดังนี้
                1.2.1 ด้านรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการใช้สื่อที่น่าสนใจและหลากหลาย กิจกรรมสนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย และได้ฝึกฝน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากแบบเสริมทักษะการอ่าน ผู้เรียนเกิดความสามัคคี ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเสียสละ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตร
                1.2.2    ด้านเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ให้เลือกเนื้อหา ที่ใกล้ตัวของนักเรียน และน่าสนใจ ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า เรื่องที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ควรใช้เนื้อหา เรื่อง KALASIN MOTTO ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ใกล้ตัวของนักเรียนและสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณได้เป็นอย่างดี
                1.2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การนำเสนอเนื้อหาเป็นระบบตามลำดับขั้น มีการเสริมแรง จัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เหมาะสม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถใช้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียน
                1.2.4 ด้านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยการศึกษาจากแบบฝึกทักษะ แบบฝึกหัด และใบกิจกรรมเป็นรายบุคคล และการเสริมแรงทางบวกทำให้นักเรียนเกิดความรักในวิชาภาษาอังกฤษ อันจะส่งผลให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเร็วกว่าปกติ
                1.2.5 ด้านเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ จัดการเรียนการสอนควรจัดเป็นรายชั่วโมงตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำหนดไว้
                1.2.6 ด้านการวัดและประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรมีการประเมินผลที่หลากหลาย เช่น การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบฝึกทักษะ ใบกิจกรรม และใบงาน เป็นต้น
                1.2.7 ด้านความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ได้เสนอแนะไปในทางเดียวกัน เกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์จะได้ผลดีผู้เรียนต้องได้ฝึกปฏิบัติจริงให้มากที่สุด และครูผู้สอนต้องคอยแนะนำและแก้ไขข้อบกพร่องอย่างใกล้ชิด
        2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 7 องค์ประกอบดังนี้ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสอน มี 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (Reading Comprehension : R) (2) ขั้นบูรณาการแนวคิดใหม่ (Integrating : I) (3) ขั้นการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Teaching : T) (4) ขั้นการทบทวน (Reviewing : R) (5) ขั้นประเมินผล (Assessing : A) 4) สาระความรู้ 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง และ 7) สิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.81/77.56 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.74, S.D. = 0.45)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^