LASTEST NEWS

22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กรมชลประทาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชกการ 58 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 20 พ.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 11 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค.2567 20 พ.ย. 2567สพม.เพชรบูรณ์ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย ขอใช้บัญชี สพม.นครสวรรค์ และสพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รวม 3 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ...

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
ผู้รายงาน    นายชัยมงคล ศรีนวล
สถานศึกษา    โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด     สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา    2566

บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม มีวัตถุประสงค์ในการประเมิน ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน R.V.Krejcie and D.W.Morgan ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ทั้งหมด 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามเพื่อการประเมิน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการประเมิน จำนวน 7 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 แบบสอบถามเพื่อการประเมินก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 2 แบบสอบถามเพื่อการประเมินก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับครูผู้สอน มีทั้งหมด 4 ฉบับ ชุดที่ 3 แบบสอบถามเพื่อการประเมินระหว่างดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับครูผู้สอน ชุดที่ 4 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 5 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับครูผู้สอน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 6 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับนักเรียน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 7 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับผู้ปกครองนักเรียน มีทั้งหมด 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.914 - 0.965 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน บ้านใหญ่พิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ CIPP Model ปรากฏผล ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( "x" ̅ = 4.33, S.D. = 0.43 ) ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ ความเป็นไปได้ของการบรรลุเป้าหมายของโครงการ ( "x" ̅ = 4.49, S.D. = 0.37 ) และความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ( "x" ̅ = 4.38, S.D. = 0.61)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( "x" ̅ = 4.45, S.D. = 0.29) ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ( "x" ̅ = 4.54, S.D. = 0.52 ) และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมกับโครงการ ( "x" ̅ = 4.54, S.D. = 0.56 )
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) พบว่า ครูผู้สอนมีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.51, S.D. = 0.29 ) ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดของระยะเวลา ( "x" ̅ = 4.71, S.D. = 0.28 ) และการประชุมวางแผนการดำเนินงาน ( "x" ̅ = 4.67, S.D. = 0.42 )
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.57, S.D. = 0.34) ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (¯("X " )= 4.68, S.D. = 0.48 ) กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ ( "x" ̅ = 4.57, S.D. = 0.40 ) กิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ ( "x" ̅ = 4.55, S.D. = 0.40 ) และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโซนพื้นที่ ( "x" ̅ = 4.33, S.D. = 0.75 )
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.61, S.D. = 0.46 )
สรุปได้ว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป็นโครงการที่สมควรดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมิน พบว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมประสบความสำเร็จ ซึ่งแสดงว่า การดำเนินการ 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ 3) กิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ 4) กิจกรรมจิตอาสา และ 5) กิจกรรมออมทรัพย์ประจำห้องเรียน มีความเหมาะสมที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม เนื่องด้วยเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิบัติตนให้พอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสถานการณ์สภาพแวดล้อม ทำให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง มีความรู้และมีคุณธรรม
1. จากผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุน มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนควรแสดงบทบาทผู้นำในชุมชน เพื่อช่วยให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนหรือท้องถิ่นในการสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของทางโรงเรียนในทุกมิติ
2. จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน พบว่า สถานที่ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมปลอดภัย มีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารควรวางแนวนโยบายเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม พัฒนาและปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารเรียน ห้องเรียน ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งพื้นที่บริเวณในการ ทำกิจกรรมของโครงการ
3. จากผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า การสรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารควรมุ่งเน้นการนิเทศ กำกับติดตามการสรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน ก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงาน และหลังการดำเนินงาน ของผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อให้การดำเนินงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน แบ่งตามคุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทั้ง 5 กิจกรรม ดังนี้
4.1 กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรเพิ่มและออกแบบกิจกรรมให้มีความหลายหลายซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินเนินการในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ทั้ง 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 2) กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ 3) กิจกรรมเลี้ยงกบ 4) กิจกรรมทำนาในบ่อซีเมนต์ 5) กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว 6) กิจกรรมปลูกกล้วยน้ำว้า 7) กิจกรรมปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ อาจเป็นกิจกรรมที่ยังไม่ครอบคลุมตามความถนันและความสนใจของผู้เรียน ควรขยายผลกิจกรรมให้ลงสู่ชุมชน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะเพิ่มขึ้นและมีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตที่หลากหลาย
4.2 กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรออกแบบวางแผนการทำกิจกรรม โดยอาจจัดทำเป็นปฏิทิน ตารางกิจกรรมตลอดภาคเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรม และมีความรู้ในกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ เช่น ความรู้ในเรื่องการกราบพระ ความรู้ในเรื่องบทสวดมนต์ ความรู้ในการยประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น
4.3 กิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานเพิ่มเติมในการออกแบบกิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ให้มากขึ้น เช่น คุณธรรมสร้างสรรค์คนดี วิถีพอเพียงหรือหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจในการกระทำตน เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่
4.4 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโซนพื้นที่ พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานเพิ่มเติมในการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโซนพื้นที่ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ในการทำกิจกรรม เช่น ความรู้หรือทักษะการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ความรู้ในเรื่องเทคนิควิธีการทำความสะอาด เป็นต้น
4.5 กิจกรรมออมทรัพย์ประจำห้องเรียน พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานเพิ่มเติมในการออกแบบกิจกรรมออมทรัพย์ประจำห้องเรียนเพื่อเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องของการออมทรัพย์ เช่น การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การขยายผลให้ผู้เรียนในเรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สู่ครอบครัว เป็นต้น


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^