การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ
เรื่อง แสงเชิงคลื่น และเรื่อง แสงเชิงรังสี รหัส ว30203 วิชาฟิสิกส์ 3 (รายวิชาเพิ่มเติม)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
The development of the Physics instructional package to develop the integrated science process skills in the topic of Light as Waves and Light as Electromagnetic Radiation for Mathayomsuksa 5 Students
ทวิพงศ์ ศรีสุวรรณ
Tawipong Srisuwan
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
Suratthani School,The Secondary Educational Service Area Office
Suratthani Chumphon.
Corresponding Author E-mail: krutao@st.ac.th
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 2) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมฯให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมฯ ให้มีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน 5) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการก่อนและหลังเรียนของนักเรียน 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสอดคล้องของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชั้นม.5 ห้อง 4 จำนวน 36 คน ปีการศึกษา 2566 ภาคเรียนที่ 1 ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบบวิจัยแบบทดลองกลุ่มเดียว ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมฯพัฒนาขึ้น 10 ชุด มีความสอดคล้องโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.93 2) ชุดกิจกรรมฯมีประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 83.04/81.20 3) ชุดกิจกรรมฯมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.71 4) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6) ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ
Abstract
The objectives of this research article were 1) to develop the Physics instructional package 2) to find the efficiency of the instructional package to be effective in accordance with the 80/80 criteria. 3) to find the effectiveness index of the instructional package to have an effectiveness index value of 0.50 4) to compare learning achievement before and after using the instructional package. 5) to compare the integrated science process skills before and after using the instructional package. 6) to study the students’ satisfaction toward the instructional package. The sample group was M.5/4, 36 people, 2023, semester 1. The sample group was selected by using the cluster random sampling method. The research model uses (One Group Pretest – Posttest Design). The results were as follows: 1) 10 sets of the instructional package were developed, with Index of item objective congruence were 0.93 form 5 experts. 2) The Effective of instructional package (E1/E2) were 83.04/81.20 3) The instructional package has an effectiveness index equal to 0.71 4) There were higher learning achievement scores at the statistically significant .01 level 5)There were higher Integrated science process skills scores at the statistically significant .01 level 6)The students ‘satisfaction was at very good level of satisfaction.
Keywords: Instructional package, Integrated science process skills