การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS
ผู้วิจัย นายวินัย คำวิเศษ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODELของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดาปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้รูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา และ 4) แบบประเมินรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาสภาพและปัญหาระบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดามีความต้องการจำเป็นด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียนสูงที่สุด สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนดอนเมือง จาตุรจินดา คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนให้มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการของนักเรียน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆได้เต็มตามศักยภาพของนักเรียน 2) รูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา คือการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมพัฒนานักเรียนโดยใช้กิจกรรมทั้ง 7 กิจกรรม การป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไข และการส่งต่อ 3) ผู้บริหาร หัวหน้าระดับ ครูที่ปรึกษาและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา โดยรวมอยู่ระดับ มาก (x ̅ = 4.43) และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODELของโรงเรียนดอนเมืองจาตุร จินดา พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน HEARTS MODEL ของโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.25)
คำสำคัญ : การบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, Hearts model