เผยแพร่ผลงาน วิจัย ม.4
ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN
MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสงกรานต์ พรมภาพ
หน่วยงาน โรงเรียนเมืองสมเด็จ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเมืองสมเด็จ ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “RITRA MODEL” โดยมี 7 องค์ประกอบดังนี้ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสอน มี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (Reading Comprehension : R) 2) ขั้นบูรณาการแนวคิดใหม่ (Integrating : I) 3) ขั้นการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Teaching : T) 4) ขั้นการทบทวน (Reviewing : R) 5) ขั้นประเมินผล (Assessing : A) 4) สาระความรู้ 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง และ 7) สิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.81/77.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/1 มีความพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.74, S.D. = 0.45)