การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย อมรรัตน์ ภูมิประหมัน
ปีที่พิมพ์ 2566
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินทักษะการดำเนินชีวิตด้านคุณธรรมจริยธรรม 6) แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนตามทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความและการถอดบทเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนควรมุ่งจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ ที่เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ สร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนลงมือปฏิบัติงานฝึกให้มีการนำเสนอ และการทำงานกลุ่ม
2. ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้รูปแบบ“DHED Model” การตรวจสอบรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การทดสอบค่าประสิทธิภาพ พบว่ามีประสิทธิภาพ 80.75/81.33
3. ผลการทดลองใช้ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.13/84.25 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
4. ผลการประเมินและปรับปรุง 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การประเมินทักษะการดำเนินชีวิตด้านคุณธรรมจริยธรรม
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินพฤติกรรมนักเรียนตามทักษะการเรียนรู้แบบแบบ Active Learning ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก