การพัฒนาทักษะปฏิบัติเพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์
ผู้วิจัย นายธันธวัช ปิ่นทอง
พ.ศ. 2566
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะปฏิบัติเพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองของนักศึกษาโดยใช้รูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 1 กลุ่มวิชานาฏศิลป์ไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จํานวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติด้านการร้อง และการรำ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาทักษะปฏิบัติเพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.40/84.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะปฏิบัติเพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะปฏิบัติเพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ พบว่า ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพลงไหว้ครูชาตรี ด้วยรูปแบบการสอนของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิค STAD มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅ = 4.65 ; S.D. = 0.53)
คำสำคัญ : การพัฒนาทักษะปฏิบัติ/ รูปแบบการสอนของเดวีร์/ เทคนิค STAD / เพลงไหว้ครูชาตรี
144 หน้า