การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วม
ของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา
ผู้วิจัย นางวลัยลักษณ์ อินนอก ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงาน แบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานวิชาการและหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา 3) ทดลองใช้รูปแบบ การบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา และ 4) ประเมินความพึงพอใจและผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา ประชากรที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา ที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ 5) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานวิชาการและหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร พบว่า งานวิชาการเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผลประเมินผล 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 10) การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน และขั้นตอนการสร้างทีมงานต้องประกอบไปด้วย 1) การรับรู้ ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น 2) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 3) การวินิจฉัยข้อมูล 4) การวางแผนแก้ปัญหา 5) การนำแผนไปปฏิบัติ และ 6) การติดตามประเมินผล
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วางแผน (Planning : P) ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการ (Undertaking : U) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาโดยการให้ความรู้ (Knowledge : K) ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบและพัฒนากิจกรรม (Design And Development : D) ขั้นตอนที่ 5 การส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพ (Enhancement : E) ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Evaluation : E) หรือเรียกว่า PUKDEE Model และผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา ของผู้เชี่ยวชาญ ด้านความถูกต้อง ครอบคลุม ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
3. การประเมินการบริหารงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ มีความแตกต่างกัน หลังใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.70, = 0.16) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.39, = 0.19)
4. ครูโรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา มีความพึงพอใจ ต่อการใช้รูปแบบการบริหาร งานวิชาการเพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.48, = 0.22) และผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนทุ่งบ่อวิทยา ของครูและบุคลากร ด้านความถูกต้อง ครอบคลุม ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน