การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชื่อผู้วิจัย : สุภลักษษ์ วิเศษรัตน์
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านโนนยาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ทำการวิจัย : ๒๕๖๕-๒๕๖๖
บทคัดย่อ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านที่มีคุณค่า เป็นการอ่านโดยใช้ความรู้ในระดับสูงประสบการณ์ความคิดพิจารณา วิเคราะห์ด้วยเหตุผล และตัดสินประเมินค่าสิ่งที่อ่านเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่มีคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 2.2) ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒ จำนวน ๒๖ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบ จำนวน ๗ แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน ๔0 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 และแบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (SAPAT Model) มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจ (2) ขั้นการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ (3) ขั้นการลงมือปฏิบัติ (4) ขั้นการเห็นคุณค่าและประยุกต์ใช้ความรู้ (5) ขั้นการประเมินผลและเชื่อมโยงการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "X" ̅ = 4.53)
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( "X" ̅ = 4.43)
โดยสรุป รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ สามารถพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น