LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพ

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง        รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน
ผู้ศึกษา        นายสุชาติ นาแก้ว
ปีที่วิจัย        2564-2565

    การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน 3) เพื่อทดลองใช้และขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน และ 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน และ 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการศึกษา คณะครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ แบบประเมินรูปแบบ แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบและแบบประเมินการพัฒนารูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า

    1. โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพใน 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านครูและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมในระดับมาก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 S : Student - Centered Learning (การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ) องค์ประกอบที่ 2 T : Teacher Training (การพัฒนาครู) องค์ประกอบที่ 3 A : Administrative Techniques (การใช้เทคนิคเชิงบริหาร) องค์ประกอบที่ 4 M : Management of Curriculum (การจัดการหลักสูตรสถานศึกษา)และ องค์ประกอบที่ 5 P : Participation (ความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานอื่น)
    3. ผลการทดลองใช้และขยายผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านครูและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน ในภาพรวมพบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนมีผลงานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงเรียนรอบด้าน
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา STAMP Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหน่อม สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน พบว่า ผลการประเมินการใช้รูปแบบตามองค์ประกอบที่ 1- 5 ในภาพรวม มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด








Title      STAMP Model for Enhancing the Quality of Educational Management at San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal"
Writer         Mr.Suchart Nakeaw
Year        2022 – 2023

The study aimed to investigate the management patterns in educational institutions using the STAMP Model to enhance the quality of educational management at San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal. The specific objectives encompass: 1) assessing the essential requirements to develop the STAMP Model for educational management quality enhancement at the aforementioned school, 2) creating and advancing the STAMP Model for improved educational management, 3) experimenting with and expanding the outcomes of implementing the STAMP Model, and 4) evaluating the progress of the STAMP Model's application for educational management enhancement.
    The research process unfolds across four stages: 1) assessing the imperative needs for developing the STAMP Model, 2) crafting and evolving the STAMP Model, 3) piloting the STAMP Model's application, and 4) evaluating the impact of the STAMP Model on educational management quality. Participants include administrators, educational experts, faculty, and students of the San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal.
    The research utilized tools such as group interview records for essential needs assessment, model assessment forms, effectiveness evaluation forms, satisfaction assessment forms for model usage, and model development evaluation forms. Data analysis involved frequency analysis, mean values, standard deviations, and content analysis.
Key findings include:
    1) San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal, had a crucial need to develop a school management model to transition into a quality institution, focusing on three aspects: student quality, administrative and managerial processes, and teacher-centered learning emphasizing student importance.
    2) The STAMP Model for school management at San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal, exhibits high alignment and suitability, comprising five components: Student-Centered Learning (S), Teacher Training (T), Administrative Techniques (A), Management of Curriculum (M), and Participation (P).
    3) The trial and expansion of the STAMP Model for educational management at San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal, revealed that assessments regarding student quality, administrative and managerial processes, and teacher-centered learning were largely at a high level. Stakeholders showed a significantly high level of satisfaction with the school's educational management following the STAMP Model, indicating the highest overall satisfaction level. The school showcased demonstrable achievements reflecting the development of its school management systems.
    4) The evaluation of the STAMP Model's application for educational management at San Pa Yang Nom Municipal School, Mueang Lamphun Municipal, revealed that the overall operational performance across its five constituent components was at the highest level.




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^