การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
วัดฉัททันต์สนาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ผู้วิจัย ปรีดา เมฆรัตน์
ปีที่วิจัย 2562 – 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 44 วัดฉัททันต์สนาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 44 วัดฉัททันต์สนาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินเป็น 1) นักเรียน 2) ครู 3) ผู้ปกครองนักเรียน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 210 คน และปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 213 คน รวมทั้งสองปีการศึกษา 423 คน มีกระบวนการดำเนิน 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การประเมินระยะที่ 1 การประเมินก่อนดำเนินการโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ด้านบริบทและด้านปัจจัย ขั้นตอนที่ 2 การประเมินระยะที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ด้านกระบวนการ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินระยะที่ 3 การประเมินหลังดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการ
ประเมิน CIPPIEST Model ด้านผลผลิตและส่วนปรับขยาย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 1) แบบประเมิน มีจำนวน 11 ฉบับ ทุกฉบับมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และความเชื่อมั่น (Reliability) มีค่า อยู่ระหว่าง 0.799-0.924 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มีจำนวน 3 ฉบับ ทุกฉบับมีความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (Content Validity) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติการ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) พบว่า ภาพรวมทั้งสองปีการศึกษามีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ สามารถที่จะนำโครงการไปดำเนินการได้
2. ผลการประเมินด้านปัจจัย (Input) พบว่า ภาพรวมทั้งสองปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ สามารถที่จะนำโครงการไปดำเนินการได้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ภาพรวมทั้งสองปีการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมได้ตามโครงการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตและส่วนขยาย โดยที่ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยทั้งสองปีการศึกษาอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ สามารถดำเนินการตามกิจกรรมได้
ส่วนขยาย ไดเแก่
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยทั้งสองปีการศึกษาอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ สามารถดำเนินการตามกิจกรรมได้
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) พบว่า ภาพรวมทั้งสองปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ สามารถดำเนินการตามกิจกรรมได้
4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่าภาพรวมมีค่าเฉลี่ยทั้งสองปีการศึกษาอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ สามารถดำเนินการตามกิจกรรมได้
4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่า ภาพรวมทั้งสองปีการศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ สามารถดำเนินการตามกิจกรรมได้