การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E PLUS
ประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นิตยา สุวรรณมณี
ปีที่วิจัย : 2564
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้ 1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ต่ำมาก 2) ศักยภาพของครูในการจัดการเรียนรู้ 3) การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 5) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม 7) เทคนิคการตั้งคำถาม และคำถาม จำนวน 10 ข้อ และผลจากการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี พบว่า แนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ซึ่งผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง และวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลและเตรียมนำเสนอข้อมูลด้วยการทำแผนผังความคิด โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus คือ “คำถาม” จะเป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
2.ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 มีประสิทธิภาพ 83.04/84.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus มีดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 การสำรวจและค้นหา ขั้นที่ 3 การอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นที่ 4 การขยายความรู้ ขั้นที่ 5 การประเมินผล + Plus 5.1) เครื่องมือทดสอบความคิด/แผนผังความคิด 5.2) การนำเสนอผลงาน
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ชุด แรงในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.75 SD. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E Plus ( = 3.79 SD. = 0.44) ด้านการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ( = 3.76 SD. = 0.56) ด้านเนื้อหา ( = 3.74 SD. = 0.51) และด้านครูผู้สอน ( = 3.74 SD. = 0.46)