การวิจัยและประเมินโครงการ (One Class One Product)
เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) โดยใช้กระบวนการ
มีส่วนร่วม โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ หารไชย
สถานศึกษา โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยและประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ (One Class One Product) โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร และ 2) เพื่อประเมินทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ การวิจัยและประเมินโครงการครั้งนี้ใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam andShinkfield (2007) ประกอบด้วยการประเมินใน 8 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้าน
การถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 48 คน กลุ่มที่ 2 นักเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม จำนวน 460 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่ง
ชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย สำหรับการเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียน
ที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใช้สอบถามย่อย 8 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ฉบับที่ 2 ประเมินทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับนักเรียน
จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และฉบับที่ 4 แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิจัยและประเมินโครงการ 1 ห้องเรียน 1 ผลิตภัณฑ์ (One Class One Product) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.61) ข้อที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านกระบวนการ (P: Process) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D.= 0.56) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (P: Product) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.48) และด้านสภาวะแวดล้อม
(C: Context) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.57) ส่วนข้อที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T: Transportability)อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D.= 0.72)
2. ทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.62) และมีค่าเฉลี่ยรายด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านที่ 1 ความยืดหยุ่นและการปรับตัว อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.56) ด้านที่ 2
เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.62) ด้านที่ 3 ทักษะ
ทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.68) ด้านที่ 4
การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิดชอบ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.57) ด้านที่ 5
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับ มาก ( = 4.45, S.D. = 0.64)
3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานโครงการ พบว่า โรงเรียนโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคมมีการนำนโยบายไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผ่านโครงการต่าง ๆ ของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีกระบวนการคิดในการทำงานได้อย่างถูกต้อง
มีทักษะในการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัวได้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ มีทักษะ
ในการเลือกตราสินค้าให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการ ในการจัดการเรียนรู้การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลโครงการ ผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) รวมถึง
การนำผลกาประเมินมาใช้ โดยผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วม มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน การยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม ส่วนข้อจำกัด คือ บุคลากรมีจำนวนน้อย ทำงานหลายด้านในเวลาเดียวกัน ต้องการงบประมาณ วัสดุ สื่อ อุปกรณ์เพิ่มเติม ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อเสนอแนะในการพัฒนาคือ ควรส่งเสริมและบูรณาการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning) มีการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ การทำ MOU
การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และการขยายผลและมีการสร้างขวัญและกำลังใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติ เผยแพร่เกียรติคุณให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนต่อไป