นายการุณ ฤกขะวุฒิกุล: การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
KARUN REAKKHAWUTTIGUL: THE DEVELOPMENT OF SCIENCE CHNOLOGY SKILLS BY
INTERGATED STEAM LEARNING MANAGEMENT THROUGH 5E MODEL FOR
MUTRATYOMSUKSA 3 STUDENTS
การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส(สุทธิพงษ์ประชานุxxxล) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส ฯ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หน่วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบบประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนอยู่ในระดับดี นักเรียนมีการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตมีคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับดี ( X bar=2.87, S.D.=0.34) ส่วนทักษะทางเทคโนโลยี ด้านทักษะการออกแบบ มีคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับดี ( X bar=2.87, S.D.=0.34) ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( X bar=2.60, S.D.=0.49) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์สูงที่สุด อยู่ในระดับดี ( X bar=2.62, S.D.=0.49) และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ มีคะแนนผสสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจโดยภาพรวมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( X bar=2.74, S.D.=0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด อยู่ในระดับมาก (X =2.78, S.D.=0.41) และด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก ( X bar=2.70, S.D.=0.42)