การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วม
ปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ผู้วิจัย นายสิทธิพงษ์ ส้มเกิด ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านกะลาพอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และ 4. เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ผู้วิจัยใช้รูปแบบ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษา สภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด การเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกะลาพอ อำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถาม 2. แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของร่างรูปแบบ 3. แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของคู่มือการใช้รูปแบบ 4. แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ 5. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6. แบบประเมินทักษะการทำงาน เป็นกลุ่ม 7. แบบประเมินความพึงพอใจ และ 8. แบบประเมินมาตรฐานความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะ การทำงานเป็นกลุ่ม พบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในระดับประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ สื่อในการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งครูส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการจัดการเรียนการสอน 2) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D = 0.54) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการใช้หลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ และ 3) แนวทางในการจัดการเรียน
การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ครูได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดเน้นที่ต้องการพัฒนานักเรียน คือ ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจากกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างความรู้อย่างมีความหมายด้วยตนเอง มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาร่วมกัน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.57) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่เนื้อหา ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นลงมือปฏิบัติเป็นกลุ่ม และ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและอภิปรายเป็นกลุ่ม
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า
3.1 คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ แบบร่วมมือและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.55/84.62 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3.2 นักเรียนมีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 84.07 ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80
3.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.50)
4. ผลประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า โดยภาพรวมรูปแบบมีมาตรฐาน ด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.53)