การใช้กระบวนการโค้ช(Coach) เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เชิง
รูปแบบการเรียนรู้ CBL (Creativity Based Learning) + ส.ว.ก.+ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ RT NT O-NET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางภัครฐา แก้วจา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดล้านตอง
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
โทรศัพท์มือถือ 097-9182293 E-mail : Pakkaratha_LawLar@hotmail.com
2. ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กำหนดแนวทางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นกรอบการพัฒนาการศึกษาเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือ “คนไทยทุกคนได้รับ การศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” และมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : 116) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดนโยบายให้สอดคล้องตอบรับกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านหลักสูตรการเรียนการสอนกระบวนการเรียนรู้ การยกระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2559 : 51-53) นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566) การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษานำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ จัดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลฐานสมรรถนะ พัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม จัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียน ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่หลากหลาย ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออมให้กับผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการเรียน การสอน นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ด้านที่ 3 ด้านคุณภาพ จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active Learning) มีการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) เพื่อให้เกิดสมรรถนะกับผู้เรียนทุกระดับ และนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 “วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ" (QUICK POLICY) ข้อที่ 5 ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้พบข้อสังเกตของผลสัมฤทธิ์ RT NT O-NET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง ในปีการศึกษา 2564 พบว่ามีจุดที่ควรพัฒนาจึงสำรวจสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดล้านตอง พบว่าคณะครูยังมีการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย เนื่องจากครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เช่น การประยุกต์ ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาประเภทต่างๆ และกระบวนการในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ควรได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนการแก้ปัญหาผู้เรียน จึงเกิดแนวคิดในการใช้กระบวนการโค้ช(Coach) เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยรูปแบบการเรียนรู้ CBL (Creativity Based Learning) + ส.ว.ก.+ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ RT NT O-NET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง
3. วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม
3.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยรูปแบบการเรียนรู้ CBL (Creativity- Based
Learning) + ส.ว.ก.+เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ RT NT O-NET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูในการใช้กระบวนการโค้ช (Coach) เพื่อส่งเสริมให้ครู
จัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยรูปแบบการเรียนรู้ CBL (Creativity Based Learning) + ส.ว.ก.+ เพื่อ
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ RT NT O-NET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดล้านตอง