ไพริน วาปีโกมล
และเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์
และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ผู้วิจัย นายไพริน วาปีโกมล
หน่วยงาน โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สำนักการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
บทคัดย่อ
ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ ๓.๑) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓.๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๓) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๔) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๔) ประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ต่อการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ ดังนี้ ระยะที่ ๑ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน ๕ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๒ คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ ๒ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๗ คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ ๓ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ จำนวน ๒๕ คน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนนาข่าวิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ๑) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๑๔ แผน ๒) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ ๐.๓๓-๐.๗๘ และมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๒๙-๐.๗๖ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๓ ๓) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ ๐.๓๘ – ๐.๖๙ และมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๓๒ – ๐.๘๘ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๘ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๒๒ – ๐.๘๑ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๑ ระยะที่ ๔ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน ๒๐ คน จาก ๒๐ โรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่ต่อมีรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test (Independent system)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
๑. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากครูจัดกิจกรรมไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ขาดการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการแก้ปัญหา ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะการคิดแก้ปัญหา ครูต้องการพัฒนารูปแบบการสอนที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และนักเรียนต้องการให้จัดการเรียนที่เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง จะช่วยทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
๒. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบ ๕E และเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๔ (IPALM Model) มี ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖) สิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ขั้นที่ ๒ ขั้นนำเสนอเนื้อหาหรือสร้างสถานการณ์ (Presentation) ขั้นที่ ๓ ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้ (Action of Learning) ขั้นที่ ๔ ขั้นสรุปบทเรียน (Lesson Summary) และ ขั้นที่ ๕ วัดและประเมินผล (Measurement and evaluation) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
๓. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการสอนแบบ ๕E และเทคนิค KWDL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ดังนี้
๓.๑ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๕.๖๐/๘๓.๒๐ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๓.๒ นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓.๓ นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓.๔ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
๔. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมาก