การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษฯ
ผู้วิจัย นางสาวปองทิพย์ ศิริวัฒน์
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้การเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนเทศบาล 1 หนองตมศึกษา (จิ้นตง) จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีวัดผลการเรียนรู้ก่อน-หลัง ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนด และนำคะแนนผลการเรียนรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบจับคู่ (Dependent Sample t-test) เพื่อทดสอบว่าทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning สูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.39/75.38 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้ 2) ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นั้นมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5278 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 52.78 และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 45.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.02 และค่า t = 19.882