การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู
ผู้วิจัย นางสาวอรนุช ศรีโพธิ์ชัย
ปีที่วิจัย 2565
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดร่างของรูปแบบการเรียนการสอนจากแหล่งข้อมูลเอกสารและบุคคล นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดร่างของรูปแบบการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) นำรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปทดลองใช้ 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การออกแบบและการพัฒนารูปแบบระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปทดลองใช้ ระยะที่ 4 การประเมินและรับรองรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ซึ่งได้มา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาปัจจุบัน จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 4) คู่มือการใช้รูปแบบ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 6) แบบวัดการคิดวิเคราะห์แบบเขียนตอบ จำนวน 10 ข้อ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดร่างของรูปแบบการเรียนการสอนจากแหล่งข้อมูลเอกสารและบุคคล นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดร่างของรูปแบบการเรียนการสอน
1.1 ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทฤษฎี หลักการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน (Principles) 2) วัตถุประสงค์ (Objectives) 3) การจัดการเรียนการสอน (Teaching Process) มีขั้นตอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นการทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge : A) ขี่นที่ 2 ขั้นเผชิญปัญหา (Problem : P) ขั้นที่ 3 ขั้นการลงมือกระทำ (Action : A) ขั้นที่ 4 ขั้น การสร้างองค์ความรู้ (Construction : C) ขั้นที่ 5 ขั้นการวัดและประเมินผล (Evaluation) และขั้นที่ 6 ขั้นสะท้อนผล (Feedback) และ 4) การวัดและประเมินผล (Evaluation)
1.2 ผลการศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนการสอน พบว่า ภาพรวมของผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนที่ควรปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (X = 3.89, S.D.=0.81) และภาพรวมของผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนที่ครูปฏิบัติจริง อยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.40, S.D.=0.90)
2. ระยะที่ 2 ผลการออกแบบและพัฒนา ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีองค์ประกอบ คือ
1. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน (Principles) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จและนำไปสู่การพัฒนา การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและสังคม
2. วัตถุประสงค์ (Objectives) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
3. การจัดการเรียนการสอน (Teaching Process) มีขั้นตอน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge : A)
ขั้นที่ 2 ขั้นเผชิญปัญหา (Problem Situation : P)
ขั้นที่ 3 ขั้นการลงมือกระทำ (Action : A)
ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างองค์ความรู้ (Construction : C)
ขั้นที่ 5 ขั้นการวัดและประเมินผล (Evaluation : E)
ขั้นที่ 6 ขั้นสะท้อนผล (Feedback : F)
4. การวัดและประเมินผล (Evaluation) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจของนักเรียน
3. ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบ หลังจากหาประสิทธิภาพพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรากฏผล ดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 80.94/81.19
3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 0.7034
3.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่าโดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
4. ระยะที่ 4 ผลการประเมินและรับรองรูปแบบ ผลการประเมินและรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.65, S.D.=0.51)
อ่านต่อได้ที่: https://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write&cat=10