รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ท.นม.
ในเมือง และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลในเมือง มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบ จากเอกสารและการสัมภาษณ์ 2) การพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบ โดยการประเมินความเหมาะสมและการสนทนากลุ่ม และ 3) การประเมินรูปแบบโดยการสอบถามด้วยแบบสอบถามประเมินความเป็นไปได้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 20 คน และการตรวจสอบสภาพจริงจากครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ หัวข้อสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลในเมือง มี 4 ด้าน ดังนี้ 1) การวางแผน 15 ข้อ 2) การจัดองค์กร 19 ข้อ 3) การนำไปปฏิบัติ 18 ข้อ และ 4) การควบคุม 18 ข้อ รวมทั้งสิ้น 70 ข้อ
2. รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลในเมือง มีความเหมาะสม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลในเมือง มีความเป็นไปได้และสภาพจริง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก