การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาววันทนีย์ ศรีจวง
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ข้อ คือ 1. เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Claster Random Sampling ) จากจำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.37/82.89 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 พบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจัดการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 24.69 สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ย 13.77 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 77.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 75 และมีคะแนนเฉลี่ย (¯("X" )) เท่ากับ 15.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.03
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, = 0.73)