LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา

usericon

ชื่อเรื่อง             การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเน้นให้                ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และ                นำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย                 นางสาววันทนีย์ ศรีจวง
ตำแหน่ง                 ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา             2565

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ข้อ คือ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4. ผลการประเมินและปรับปรุงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Claster Random Sampling ) จากจำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 43 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัย
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการสังเคราะห์ทำให้ได้รูปแบบมีองค์ประกอบการสอน 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 1. ขั้นการทบทวนความรู้เดิมโดยใช้ปัญหา 2. ขั้นการศึกษาหาความรู้ 3. ขั้นการสกัดองค์ความรู้ที่ได้ 4. ขั้นการสรุปและประเมินความรู้ที่ได้ และ 5. ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างองค์ความรู้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก
            2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 82.77/83.44
            3. ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองศึกษาพร้อมกับเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
         4. ผลการหาคุณภาพและปรับปรุงรูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหา และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรื่อง การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ นักเรียนชอบการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน ๆ
( = 4.90, = 0.30) นักเรียนพึงพอใจวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองและการประเมินผลโดยครู ( = 4.81, = 0.40) และนักเรียนพึงพอใจการประยุกต์สิ่งที่สอนเข้ากับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ( = 4.40, = 0.50) มีค่าน้อยที่สุด


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^