รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 3 สาระที่ 1 ป.3
ชื่อวิจัย: รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์
เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์
พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย: นางศิริกัญญา สุพุทธี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน: โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย: 2566
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่ 3 และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สังกัด กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากจากกลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 4 ชนิด คือ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์ จำนวน 14 แผน 21 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( ) (2) การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 หน่วย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ) (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.43 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.825 (4) แบบสอบถามวัดความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.55 ถึง 0.92 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล (E.I) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบ (R1,D2)
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (R1)
1) สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง
2) ความต้องการจำเป็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัด กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 การพัฒนารูปแบบ (D2)
1) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งปรากฏรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัย ได้พัฒนาขึ้น จำนวน 7 ขั้น ดังนี้
(1) ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Prompt Learning : P ) หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อนนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรืออาจเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เพื่อสร้างความพอใจ ความสนใจ และแรงจูงใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้
(2) ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : A) หมายถึง การจัด การเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการมีปฏิบัติสัมพันธ์และเชื่อมโยงจากความรู้เดิมด้วยตนเองจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยใช้กิจกรรม ได้แก่ 1) การอภิปรายในชั้นเรียน, 2) การอภิปรายกลุ่มย่อย, 3) กิจกรรม “คิด-จับคู่-แลกเปลี่ยน”, 4) เซลการเรียนรู้, 5) การฝึกเขียนข้อความสั้นๆ, 6) การโต้วาที, 7) บทบาทสมมุติ, 8) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์, 9) การเรียนแบบกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ, 10) ปฏิกิริยาจากการชมวีดิทัศน์, 11) เกมในชั้นเรียน, 12) แกลเลอรี่ วอล์ค, 13) การเรียนรู้โดยการสอน และ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยเลือกใช้เพียง 1-2 กิจกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
(3) ขั้นที่ 3 ขั้นก่อนการจัดการเรียนรู้ (Pre Learining : P) เป็นขั้นตอนก่อนการจัดการเรียนรู้ สร้างความพอใจ และแรงจูงใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ (ให้นักเรียนดูวิดิทัศน์ประกอบการเรียน) บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
(4) ขั้นที่ 4 ขั้นการจัดการเรียนรู้ (Learning : L) เป็นขั้นการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะทั้งทางด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และคุณลักษณะอันพึงสงค์ (A) ที่ผสมผสานเนื้อหา การแก้โจทย์ปัญหา และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในทุกหัวข้อและเนื้อหาการเรียนรู้ โดยมีการจัด การเรียนรู้แบบที่เน้นประสบการรณตรง (ให้นักเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ) บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
(5) ขั้นที่ 5 ขั้นสนุกกับการเรียนรู้ (Enjoy Learining) เป็นขั้นการร่วมเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านกิจกรรม สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้แบบพาเพลิน บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
(6) ขั้นที่ 6 ขั้นถามตอบเพื่อความเข้าใจในการเรียนรู้ (Ask Learning) เป็นขั้นการถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการเรียนรู้ ให้ครูและนักเรียนตั้งคำถาม ถามตอบเรื่องที่ตัวเองอยากรู้ และสงสัย
(7) ขั้นที่ 7 ขั้นการตอบสนองการเรียนรู้ (Response Learning) เป็นขั้นการตอบสนองการเรียนรู้โดยการอภิปราย และการนำเสนอรายงานเพื่อแสดงความคิดเห็น รวมถึงการแสดงบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริง
(8) ขั้นที่ 8 ขั้นสังเกตและชี้แนะจากการเรียนรู้ (Notice Learning) เป็นขั้นการให้ข้อสังเกตหรือการชี้แนะอย่างสร้างสรรค์หลังได้รับความรู้ หลังจากนั้นจึงศึกษาผลการใช้ประบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพลิน และสรุปผล บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
2) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.66/83.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียน ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
2. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D2)
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7150 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7150 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.50
3. ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ (Evaluation Research: R2)
นักเรียนมีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นประกอบการใช้การ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.66, S.D. = 0.57) และระดับมาก (x-bar = 4.13, S.D. = 0.72)