ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้7ขั้น ร่วมกับสื่อประสม ป.3
วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม
ชื่อผู้วิจัย: นางศิริกัญญา สุพุทธี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย: 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสมวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสมวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 เทียบกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 3) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์ 3 (ว 13101) เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสมเทียบกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสมวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดท่าบันเทิงธรรม อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสมวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน ใช้เวลาสอน 16 ชั่วโมงและสื่อประสมวิชาวิทยาศาสตร์ 3 (ว 13101) เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 หน่วย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3 (ว 13101) เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 แบบคู่ขนาน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์ 3 (ว 13101) เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบคู่ขนาน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัด การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสมวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสม วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 81.14/80.92
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสม วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้
3. นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสม วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับสื่อประสม วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 เรื่อง ไฟฟ้าในบ้านเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x-bar =4.23, S.D=0.79)