การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางกันยา สุภสร
หน่วยงาน โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2)พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3)ทดลองการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น และ 4)ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
4.1)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการก่อนเรียนและหลังเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4.2)เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป 4.3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้ปกครอง ผู้บริหาร ครู ด้านบริบทความพร้อมของโรงเรียนและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบทของโรงเรียน ความต้องการและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.52) และความต้องการของนักเรียนและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.45)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3)กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1)ขั้นเตรียมความพร้อม (2)ขั้นเข้าใจและลงมือปฏิบัติ (3)ขั้นได้ผลงานและชิ้นงาน (4)ขั้นการวัดผลประเมินผล โดยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.45/86.82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบในการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 7 แผนการจัดการเรียนรู้และ 7 ฐานการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้น มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนด้วยกัน มีกระบวนการกลุ่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างดีและมีคะแนนการทดสอบย่อยหลังเรียน ในทุกฐานการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100
4. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า 4.1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2)ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป โดยภาพรวม มีทักษะการปฏิบัติงานกลุ่ม อยู่ในระดับดี( = 4.35, S.D. = 0.49) 4.3)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติและกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เรื่อง การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจทั่วไป พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.42)