การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์..
ผู้วิจัย นางสาวกัญภร ทศพิมพ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5) เพื่อ
ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิจารณญาณ วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนกุญชรศิรวิทย์ ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า1. ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 82.81 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2)
เท่ากับ 83.16 ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.81/83.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6647 ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 66.47 3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.91คะแนน และ 33.26 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาเคมีเรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.41
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญา