LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐา...

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย กาญกันตา เหมือนเพ็ชร
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไป สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตาม
แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและเก็บข้อมูลจากการสอบถามประชากรเป้าหมายคือ ครูผู้สอนภาษาไทย จากกลุ่มโรงเรียนขุนหาญสหวิพัฒน์จำนวน 26 คน และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทยจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน
ผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2.1) รูปแบบชั่วคราว 2.2) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบ 2.3) พัฒนาหรือสร้าง
เครื่องมือประกอบรูปแบบ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 11 ห้อง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 31คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็น
ฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 แผน แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 คือ ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัค ติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวม ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่ส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล โดยได้นำแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนคือทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้(Constructivism) และทฤษฎีการรู้คิด (Metacognition) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหา(Problem Determination) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระหายอยากรู้อยากเห็นเกิดข้อสงสัย โดยการกระตุ้นด้วยภาพ วิดีโอ บทอ่านสั้นๆ หรือเกม ชวนสนทนาด้วยคำถามกระตุ้นคิดให้นักเรียนบอกเล่าตามประสบการณ์ความรู้เดิม แล้วชวนให้ต้องการค้นคว้าหาคำตอบ 2) ขั้นสำรวจและวิจารณ์(Research) เป็นขั้นสำรวจแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของนักเรียนจากแหล่งข้อมูล สื่อ ใบความรู้ที่ครูจัดเตรียม หรือจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจ ให้ผู้เรียนตั้งคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูลกับเพื่อนและครูผู้สอนในประเด็นที่ศึกษา 3) ขั้นตกผลึกความคิด (Synthesis) เป็นขั้นฝึกกระบวนการคิดไตร่ตรองหรือใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง
เพื่อให้ได้ความคิดรวบยอดที่สมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การระบุประเด็นปัญหา ขั้นที่ 2 การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ขั้นที่ 3 การนิรนัยขั้นที่ 4 การอุปนัย และขั้นที่ 5 ข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลงาน (Production) เป็นขั้นที่ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์วิธีนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอภิปราย การเขียน และแสดง ผลงานที่เป็นความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตน และ 5) ขั้นประเมินและสรุป (Summarize and Evaluate) เป็นขั้นให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เดิมและความรู้ใหม่ของตน ด้วยการเรียบเรียงข้อมูลองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ สาระสำคัญครบถ้วนเพื่อให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย โดยครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเป็นความคิดรวบยอด ให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และประเมินความรู้ที่ได้รับด้วยใบงาน ใบกิจกรรมหรือแบบทดสอบ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็น
ดังนี้ 3.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีดังนี้ 4.1 ผลการประเมินความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.2 ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^