การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล
ในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง)
ผู้เขียน นายอุกฤษฏ์ เต็งมีศรี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบท ของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) โดยการทดลองใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) โดยสังเคราะห์ข้อมูล สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 56 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) โดยการสนทนากลุ่ม และสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ และ ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) โดยการทดลองใช้ในสถานศึกษา 1 แห่ง มีกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 24 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามบริบทของโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านกุนุงจนอง) ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกระจายอำนาจ 2) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) ด้านความเป็นผู้บริหารมืออาชีพและครูมืออาชีพ 4) ด้านการมุ่งเน้นคุณลักษณะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และ5) ด้านความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) รูปแบบการบริหารในภาพรวมมีการพัฒนา โดยมีค่าเฉลี่ย ความถูกต้องอันเป็นผลของการทดลองและประเมินตามรายการปฏิบัติของตัวชี้วัด ซึ่งกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 24 คน ประเมินคุณภาพและความพึงพอใจระดับมากที่สุดในทุกด้าน