รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ผู้วิจัย สุนัน สมสีดา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2565
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน เพื่อสร้าง เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว(บ้านท่าฮ่อ) โดยแหล่งข้อมูลด้านเอกสาร ได้แก่ รายงานการประเมินตนเอง (SELF ASSESSMENT REPORT : SAR) และสารสนเทศ ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) โดย 1) ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 3) ยกร่างรูปแบบ และ 4) ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยใช้ประเด็นสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเป็นไปได้สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปผล ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) ในปีการศึกษา 2565 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 คน และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผล และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ได้แก่ คณะกรรมการการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษา 2565 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว(บ้านท่าฮ่อ) สภาพการบริหารการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) มีผลการประเมินคุณภาพภายในการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพระดับ ดีเลิศ 2. รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว(บ้านท่าฮ่อ) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) กระบวนการบริหารจัดการ 5) ผลลัพธ์ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ ทางวิชาการของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในภาพรวม คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 85.06 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 79.85 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ในภาพรวมเท่ากับ 92.38 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 68.66 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 98.47 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 94.52 3) ผลการประเมินระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) ปีการศึกษา 2565 ในภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม 4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) พบว่า ในภาพรวมรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้องครอบคลุมและความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารจัดการ, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การประกันคุณภาพการศึกษา
TITLE: The Development of Management Model Based on Professional Learning
Community to Improve Educational Quality Assurance of Sai Khao
Subdistrict Administrative Organization School (Ban Tha Ho)
AUTHOR: Sunan Somsida
YEAR: 2022
ABSTRCT
The present study aimed 1) to investigate the current situations, 2) to construct
the model, 3) to implement the model and 4) to evaluate the model of management based on professional learning community to improve educational quality assurance of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho). The study divided into 4 phases. Phase 1 was investigation of the current situations on quality assurance management in Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho),
the data were collected from self- assessment report and related documents. Phase 2 was construction the model of management based on professional learning community to improve educational quality assurance of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho), the data were collected from studying the related documents, interviewing 7 experts, drafting the model, and verifying the model,
the informant was 7 experts using group discussion. The instruments used were interview form, group discussion guidelines, and feasibility evaluation form. The statistics used were mean, standard deviation, and content analysis. Phase 3 was implementation the model of management based on professional learning community to improve educational quality assurance of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) in 2022 of the academic year, the informants were 9 of internal quality assurance committee and 9 of internal quality evaluation committee, the statistics used were content analysis and conclusion. Phase 4 was the evaluation the management model based on professional learning community to improve educational quality assurance of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho), the informant was 9 of internal quality assurance committee, the instrument used was the model evaluation form, the statistics used were mean and standard deviation.
The results of the study were shown as follows;
1) The results of investigation the current situations on quality assurance management and internal quality assurance in Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) revealed that there was the excellent level of internal quality assurance.
2) Management model based on professional learning community to improve educational quality assurance of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) consisted of 6 elements; 1) principles, 2) objectives, 3) elements of educational quality development, 4) processes, 5) results, and 6) keys successful.
3) The results of model implementation pointed out that 1) learning achievement of students in 8 learning groups overall rated in 85.06 of mean which higher than the criteria proposed, the results of student’s competency in terms of reading, writing, communicating and calculating overall rated in 92.38 of mean which higher than the criteria proposed, 2) student’s desirable characteristics yielded that overall rated in 98.47 of mean which higher than the criteria proposed, 3) student’s quality evaluation in standard 1 indicated that overall rated in excellent level.
4) The results of model evaluation revealed that the feasibility, appropriateness, correctness, and benefits overall rated in the most level.
Keywords: Management Model, Professional Learning Community,
Educational Quality Assurance