รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของ รร.อบต.ทรายขาว
ผู้วิจัย สุนัน สมสีดา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2565
รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลด้านบริบท (Context Evalution) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) ประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evalution) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 3) ประเมินผลด้านกระบวนการ (Process Evalution) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 4) ประเมินผลด้านผลผลิต (Product Evalution) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ 5) ประเมินผลด้านผลกระทบ(Impack evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ในการศึกษา ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตประชากร แบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และ ผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 225 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) จำนวน 18 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะของเครื่องที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ และแบบทดสอบจำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามด้านบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) แบบสอบถามด้านกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เรื่องหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 5) แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ด้านความมีวินัย ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านความมีจิตสาธารณะ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) 7) แบบสอบถามผลกระทบของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง
วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายความเรียงประกอบตารางนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียน และ ผู้ปกครอง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ผลกระทบของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ บริบทของโครงการ อยู่ในระดับมาก ดังนี้
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ด้านบริบทของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ด้านกระบวนการของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดไว้
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ด้านผลผลผลิตของโครงการ 1) ผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดชียงราย ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 3.96 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.60 ส่วนค่าเฉลี่ยหลังเรียน 8.75 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.50 2) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน ด้านความมีวินัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผู้ที่มีจิตสาธารณะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว (บ้านท่าฮ่อ) อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ด้านผลกระทบของโครงการ ตามความคิดเห็น ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ การประเมินที่กำหนดไว้
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
TITLE: The Report of Sufficiency Economy Project Evaluation of Sai Khao
Subdistrict Administrative Organization School (Ban Tha Ho) Phan District,
Chiang Rai Province
AUTHOR: Sunan Somsida
YEAR: 2022
ABSTRCT
The report of sufficiency economy project evaluation of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district, Chiang Rai province aimed 1) to evaluate the contexts of sufficiency economy project assessment of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district, Chiang Rai province, 2) to evaluate the inputs of sufficiency economy project assessment of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district, Chiang Rai province, 3) to evaluate the processes of sufficiency economy project assessment of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district, Chiang Rai province, 4) to evaluate products of sufficiency economy project assessment of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district, Chiang Rai province and 5) to evaluate impacts of sufficiency economy project assessment of Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district, Chiang Rai province. The participants were 225 consisted of 18 teachers, 7 of basic education school committee, 100 of grade 4 to grade 9 students and 100 parents. The instruments used were 6 issues of rating scale questionnaires and a test. The data were analyzed using SPSS software program. The statistics used consisted of mean, standard deviation and content analysis.
The results revealed that the sufficiency economy project assessment of
Sai Khao subdistrict administrative organization school (Ban Tha Ho) Phan district,
Chiang Rai province evaluation overall rated in the most level, when considering into each aspect pointed out that the highest mean was the products aspect rated in the most level, then the impacts aspect rated in the most level, the lowest mean was context of the project rated in more level. The results of each aspect were shown as follows; 1) the contexts evaluation yielded that overall rated in more level achieved the criteria proposed, 2) the inputs of the project pointed out that overall rated in the most level achieved the criteria proposed, 3) the processes of the project indicated that overall rated in the most level achieved the criteria proposed, 4) the products of the
projects revealed that 4.1) the results of pre-test in terms of sufficiency economy was
3.96 which was 39.60 of percentage and the results of post-test was 8.75 which was 87.50 of percentage, it indicated that students gained more understanding of sufficiency economy after participating the project, 4.2) the results of student’s desirable characteristics overall rated in more level, when considered into each aspect yielded that discipline was rated in more level and service mind was rated in more level, 4.3) the results of student’s satisfaction toward the project shown in the most level, 5) the results of project’s impacts indicated that overall rated in the most level and achieved the criteria proposed.
Keywords: Project Evaluation, Sufficiency Economy Project