การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ชื่อผู้รายงาน นายไมตรี ภูสอดสี
ปีการศึกษา 2565
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหาร เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหาร และเพื่อประเมินผลรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี โดย 1) ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 3) ยกร่างรูปแบบ และ 4) ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน โดยใช้ประเด็นสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเป็นไปได้สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปผล ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการบริหาร ในปีการศึกษา 2565 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 84 คน และคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผล ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหาร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะกรรมการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) กระบวนการบริหารจัดการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นจัดเตรียมทรัพยากร (Resources) ขั้นมุ่งเน้นผลสำเร็จ (Achievable Oriented) ขั้นปฏิบัติการร่วมกัน (Co-Operation) ขั้นประเมินผลองค์รวม (Holistic Assessment) ขั้นปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ (Adapted) 5) ผลลัพธ์ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในภาพรวม คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 82.31 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 75 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน ในภาพรวมเท่ากับ 95.54 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 97.76 ด้านสมรรถนะคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 96.52 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 ผลการประเมินระดับคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 ในภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี พบว่า ในภาพรวมรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้องครอบคลุมและความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The objective of this research was to create, implement, and evaluate the management model for leveraging the Internal Quality Assurance of Tessaban 3 Banlao school by research and development methodology 3 steps; 1) to create the management model by literature reviewing, the scholar’s interview, drafting the model and the models’ feasibility assessment by 7 the academic experts. The data were collected by interviewing and questionnaires. 2) To implement the management model in the 2022 school year by purposive sampling including 84 persons for the quality assurance committees for educational institutions and 7 persons for the internal quality assurance committee. The research tool was questionnaires 3) To evaluate the management model. The data was collected from 84 persons for the quality assurance committees for education by questionnaire. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation.
The finding showed as follow:
1) Development of the management model for leveraging Internal Quality Assurance of Tessaban 3 Banlao school, the Bureau of Educational, Udonthani City Municipality consists of 6 elements; (1) Principle, (2) objectives, (3) the elements of quality education (4) 5 steps of the management process; Resources, Achievable Oriented, Co-Operation, Holistic Assessment, and Adapted (5) outputs and (6) success factors and the management model’s feasibility in overall was the highest level.
2) The results of the trial using management models to enhance quality assurance inside Tessaban 3 Banlao school, Bureau of Educational, Udonthani City Municipality, were found that 1) Academic achievement of learners according to the school curriculum in the academic year 2022, it were found that (1) Students had academic achievement according to the school curriculum in 8 Learning areas as shown. Overall, the average score was 82.31, which was higher than the targeted average score of 75 percent. Average achievement in reading, thinking, analyzing, and writing. The overall score was 95.54 which was higher than the targeted average score of 80 percent. (2) Desirable students with an average score of 97.76 in terms of performance scores. The average is 96.52, which is higher than the average score set for the target, which is 80 percent. The results of the quality assessment of learners according to Standard 1, the quality of learners in the academic year 2022 are generally excellent.
3) Evaluation results of management style to enhance quality assurance inside Tessaban 3 Banlao school, Bureau of Educational, Udonthani City Municipality, inside the school had the possibility, suitability, correctness, comprehensiveness, and usefulness at the highest level.