การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ
หน่วยงานที่สังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา อยู่ในกระบวนการวิจัยใน 4 ขั้นตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ (Research 1) ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง และโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ รวม 12 โรงเรียน จำนวน12 คน และผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) จำนวน 66 คน (ไม่นับผู้วิจัย) เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 78 คน ตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง (Develop 1) ในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ (ชุดที่ 1) จำนวน 5 คน ทำหน้าที่ตรวจพิจารณาคุณภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และผู้เชี่ยวชาญ (ชุดที่ 2) จำนวน 5 คน ทำหน้าที่ตรวจพิจารณาและประเมินความเหมาะสมรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง (Research 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 คน ครูหัวหน้าฝ่ายหัวหน้างาน 15 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน ครูหัวหน้าระดับ 6 คน และครูผู้ปฏิบัติการสอน 34 คน รวมทั้งสิ้น 66 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เนื่องจากการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ต้องใช้วิธีการทดลอง และการมีส่วนร่วมในองค์กรในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง (Develop 2) ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง และโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ จำนวน 12 โรงเรียน รวม 12 คน และผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) จำนวน 66 คน (ไม่นับผู้วิจัย) เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ ๑ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เรื่องรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ฉบับที่ ๒ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของคณะผู้บริหารและคณะครูที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ฉบับที่ 4 แบบสอบถามการสนทนากลุ่มที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ผลการประเมิน พบว่า
1. สภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความ
เป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ผลการสัมภาษณ์ มีข้อสรุปการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง โดยนำสาระสำคัญแนวคิดสู่ความเป็นเลิศมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย จากการสังเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ที่นำมาใช้เป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (Workshop : W)
องค์ประกอบที่ 2 การฝึกหัด ฝึกฝน (Training : T)
องค์ประกอบที่ 3 การควบคุมกำกับติดตาม (Supervision : S)
องค์ประกอบที่ 4 การเผยแพร่ และแบ่งปัน (Share and Show : S)
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ ของ
โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินและการปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง พบว่า ค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลของความคิดเห็นจาก ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูฝ่ายบริหารและครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) ที่มีต่อความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องเชิงทฤษฎี และการใช้ประโยชน์ได้จริง ขององค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง มีความความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ สู่ความเป็นเลิศ ในระดับมากที่สุด